วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

3 เดือนรู้ผล..เพิ่มคุ้มครอง

3 เดือนรู้ผล..เพิ่มคุ้มครองประกันภัยพ.ร.บ. ไม่กี่เดือนก่อน "สยามธุรกิจ" เปิดประเด็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เตรียมจะทบทวนความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ประกันภัยรถภาคบังคับ) อีกครั้ง โดยจะทำควบคู่ไปกับการพัฒนาการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่ให้โรงพยาบาลสามารถวางบิลเบิกค่ารักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (อี-เคลม:E-Claim) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมาเพื่อเพิ่มความ สะดวกให้กับผู้ประสบภัยจากรถได้รับการ เยียวยาทันท่วงที >> เคลมน้อยเพิ่มคุ้มครองไม่ขึ้นเบี้ยลดค่าต๋งบริษัทกลางฯ-คปภ.มีลุ้น "เรื่องประกันภัยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรามีแนวคิดที่จะขยาย ความคุ้มครองเพิ่มแต่จะพิจารณากันในอีก 3 เดือนนับจากนี้เดือนสิงหาคมที่เราเริ่มให้ โรงพยาบาลวางบิลเบิกค่ารักษาพยาบาลกับกองทุนฯผ่านระบบอี-เคลมได้ เราจะติดตาม ตัวเลขการเคลมในช่วง 3 เดือนจากนี้มีเคลมน้อยหรือมาก ถ้าเคลมน้อยเราจะเพิ่ม ความคุ้มครองแต่จะไม่ขึ้นเบี้ยประกันเพราะ ไม่ต้องการให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป แต่ถ้าเคลมเยอะจะคงความคุ้มครอง เท่าเดิม "เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) "ประเวช องอาจสิทธิกุล" กล่าว เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า หลักการ พิจารณาจะต้องนำเบี้ยประกันและอัตราสินไหมทดแทนมาเทียบกันจะดูภาพรวมราคาเบี้ยประกันภัยรถทุกประเภท ส่วนตัวเชื่อว่าอัตราการเคลมไม่น่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากช่วงหลังๆ มีการรณรงค์ลดอุบัติ เหตุบนท้องถนนต่อเนื่อง ทำให้อุบัติเหตุเกิด น้อยลง อีกทั้งยังมีการสร้างกลไกการเบิก จ่ายค่าสินไหมง่ายขึ้น ส่วนกรณีที่บริษัทประกันภัยจะเสนอ ให้คปภ.ปรับลดเงินสมทบที่บริษัทประกันภัยต้องนำส่งให้กับบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และสำนักงานคปภ.เพื่อลดภาระบริษัทประกันภัยหากมีการเพิ่มความคุ้มครองประกันภัยพ.ร.บ.นั้น เลขาธิการคปภ.กล่าวว่า ยังไม่พูดถึงเรื่อง นี้ต้องดูอัตราการเคลมก่อน >> จ่ายสินไหมผ่านอี-เคลมใน7วัน ตั้งบ.กลางฯบริหารจัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประสบภัยจากรถ จากกรณีชนแล้วหนี รถไม่มีประกันภัยสามารถวางบิลเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก กองทุนฯ ผ่านระบบอี-เคลมได้ ซึ่งทางกองทุนฯ จะจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารครบถ้วนโดยที่ผู้ประสบภัยไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน โดยคปภ.ในฐานะผู้บริหารกองทุนได้มอบหมาย ให้บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งในเรื่องการ สำรองจ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไปก่อน แล้วค่อยมาตั้งเบิกกับกองทุนทีหลังรวมถึงการติดตามรวบรวมเอกสารใบบันทึกประจำวันจากตำรวจซึ่งต้องใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกค่าเสียหายจากกองทุนฯ "วิวัฒน์ เกิดไพบูลย์" รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายคดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์สำนักงานคปภ.กล่าวกับ "สยามธุรกิจ" ว่า ระยะเวลา 3 เดือนที่ขอดูตัวเลขเคลม ก่อนจะพิจารณาเพิ่มความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ.เป็นเวลาที่เหมาะสมพอจะเห็นภาพ หลังจากนั้นทั้งคปภ.และภาคธุรกิจจะมาพิจารณาร่วมกัน การปรับระบบการเบิกค่า เสียหายเบื้องต้นจากกองทุนให้สามารถเบิกผ่านระบบอี-เคลมได้ทำให้ภาคธุรกิจต้องแบกรับภาระมากขึ้นจากการผ่องถ่ายความ รับผิดตามกฎหมายจากกองทุนไปสู่ภาคเอกชน ต้องรอดูตัวเลข "การเพิ่มความคุ้มครองต้องดูปัจจัย ทางเศรษฐกิจประกอบ เช่น สมัยก่อนค่ารักษาพยาบาลเท่านี้ตอนนี้เพิ่มเป็นเท่านี้ ค่าครองชีพ เงินเฟ้อ" กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นหน่วย งานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการันตีว่าผู้ประสบภัยจาก รถทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยพ.ร.บ.ในส่วนค่าเสียหายเบื้องต้น ตามกฎหมายผู้ประสบภัยจากรถที่มีสิทธิ์เบิกค่าเสียหายจากกองทุนฯเป็นใครก็ได้ที่ ไม่สามารถเบิกเงินจากใครได้ อาทิ รถที่ไม่มีประกันภัย, รถมีประกันภัยแต่บริษัท ประกันจ่ายช้า, ชนแล้วหนี, รถที่กฎหมาย บอกไม่ต้องทำประกันภัย เป็นต้น เบิกได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นในส่วนค่ารักษา พยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท, เสียชีวิตค่า ปลงศพ 35,000 บาท, สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาทแต่รวมทั้งหมดไม่เกิน 50,000 บาท ปัจจุบัน กองทุนมีเม็ดเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท แหล่งเงินมาจากบริษัทประกันภัยกฎหมายกำหนดให้จ่ายสมทบเข้ากองทุนปีละ 1% ของเบี้ยประกันพ.ร.บ. ในแต่ละปีกองทุนจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นประมาณ 100 ล้านบาทตัวเลขจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพราะการปรับวิธีการเบิกค่ารักษา พยาบาลผ่านระบบอี-เคลมจะทำให้ผู้ประสบภัยที่เคยไปใช้สิทธิ์เบิกจากกองทุนอื่นหัน มาเบิกจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมากขึ้น อีกทั้งวันนี้จำนวนรถที่ไม่ทำประกันภัยมีมากขึ้นรถจักรยานยนต์มีประมาณ 6 ล้านคัน เนื่องจากเลี่ยงการต่อภาษีประจำ ปีทำให้ไม่ทำประกันภัยไปด้วย ขณะที่รถประเภทอื่นอีกประมาณล้านคันส่วนหนึ่งเป็นรถเก่าไม่ได้ต่อภาษีประจำปีเช่นกัน "เราใช้ระบบอี-เคลมของบริษัทกลางที่มีอยู่แล้ว เมื่อโรงพยาบาลคีย์ข้อมูล ผู้ประสบภัยจากรถเข้าไประบบจะบอกทัน ทีจะใช้สิทธิ์เบิกจากบริษัทประกันหรือกอง ทุนฯ ถ้าใช้สิทธิ์เบิกจากกองทุนฯ เอกสารครบถ้วนเบิกตรงได้เลย ถ้าไม่ครบอย่างบันทึก ประจำวันของตำรวจไม่มีเราให้บริษัทกลาง เข้ามาช่วยดูแลรวบรวมเอกสารให้เมื่อครบให้บริษัทกลางสำรองจ่ายไปก่อนแล้วค่อยมาเรียกเก็บจากกองทุนฯที หลัง เราเดินสายให้ความรู้กับโรงพยาบาล ทั่วประเทศแล้ว ตอนนี้มีโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนเชื่อมโยงระบบออนไลน์อยู่ 1,400 กว่าแห่งทั่วประเทศเกือบครบแล้ว" >> บริษัทกลางฯ พร้อมกูรูชี้เพิ่มคุ้มครองต้องมีลิมิต ด้าน "นพดล สันติภากรณ์" กรรม การผู้จัดการ บริษัทกลางฯ ให้ความเห็น "สยามธุรกิจ" ว่า บริษัทกลางฯ พร้อมใน การเป็นผู้ดูแลระบบอี-เคลมสำหรับการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน ทดแทนผู้ประสบภัยและได้เดินสายชี้แจง ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศแล้ว โดยเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรมาตั้งแต่ต้นปีเพื่อขยายบริการอีเคลมของบริษัทกลางฯ เองให้ครบ ถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันมีเคลมผ่านระบบ อีเคลมเฉลี่ยประมาณ 1,000 เคลมต่อวัน หากจะเพิ่มอีก 10-20% ก็ไม่มีปัญหาสามารถรับได้อยู่แล้ว ส่วนแนวคิดของคปภ.ที่จะปรับเพิ่ม ความคุ้มครองประกันพ.ร.บ.โดยไม่ปรับเพิ่มเบี้ยประกันนั้น "นพดล" ให้ความเห็น ว่า คงเป็นเรื่องที่ทางคปภ.ต้องหารือกับสมาคมประกันวินาศภัย และคงต้องรอให้ ผลออกมาก่อนไม่สามารถบอกได้ว่าควรจะ ปรับอย่างไร หรืออย่างไรจึงจะเหมาะสม แหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ให้ความเห็นกับ "สยามธุรกิจ" ว่า ประเด็นเพิ่มคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. ตอบยากอย่างถ้าจะเพิ่มความคุ้มครองโดย ไม่เพิ่มเบี้ยประกันภัยเป็นมาตรการสร้าง ประโยชน์ให้กับผู้ประสบภัย แต่คำถามคือ เพิ่มเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับความเสี่ยง ควรจะมีเกณฑ์กำหนดเพราะมีผลกระทบ ต่อผู้ประกอบการ การเพิ่มต้องมีสาเหตุเพราะอะไร เพิ่มเท่าไหร่และการเพิ่มจะยั่งยืนแค่ไหน ขณะนี้บริษัทประกันภัยยังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอยู่ยังจ่าย ค่าสินไหมกันไม่จบถ้าเพิ่มความคุ้มครองประกันภัยพ.ร.บ.จะทำให้การตั้งสำรองสินไหมเพิ่มขึ้น ความคุ้มครองที่ให้อยู่ในตอนนี้เหมาะสมแล้ว ที่มา:นสพ.สยามธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น