วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ป้ายจราจรประเภทป้ายเตือน

แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

       1. ป้ายเตือนตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด
       2. ป้ายเตือนที่แสดงด้วยข้อความ และ/หรือสัญลักษณ์
       3. ป้ายเตือนในงานก่อสร้างต่าง ๆ


1.  "ทางโค้งซ้าย" 

 ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

2.  "ทางโค้งขวา" 

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

3.   "ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย" 
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

4.  "ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา" 
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

5.  "ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มซ้าย" 
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางซ้ายแล้วกลับ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

6.  "ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มขวา"  
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางขวาแล้วกลับ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

7.  "ทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย"
ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง
 
8.  "ทางคดเคี้ยวเริ่มขวา"  
ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

9.   "ทางโทตัดทางเอก"
ความหมาย ทางข้างหน้ามีทางโทตัด ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

10.  "ทางโทแยกทางเอกทางซ้ายรูปตัววาย"   
ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางโทแยกจากทางเอกไปทางซ้ายเป็นรูปตัววาย ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง 

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำอย่างไรเมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน






ในการขับรถ คุณอาจจะต้องพบกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ ไม่ว่าจะเป็นรถหลุดจากทางวิ่ง ยางแบน หรือ ยางแตก เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เราควรจะรู้วิธีปฏิบัติในการควบคุมรถสำหรับกรณีนี้ไว้เสียหน่อย


- คุมสติให้ดี อย่าตื่นตกใจจนเกินไป ประคองพวงมาลัยเพื่อรักษาให้รถเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม

- อย่าเหยียบเบรกอย่างแรง เพราะอาจทำให้รถหมุน ให้ลดความเร็วด้วยการถอนคันเร่งและลดเกียร์ไปหาเกียร์ต่ำ แล้วค่อยแตะเบรก

- เมื่อสามารถควบคุมรถได้แล้ว ให้พยายามหยุดรถอย่างช้าๆ และจอดในที่ปลอดภัย

- ถ้าพบของตกอยู่บนถนน อย่าวิ่งทับ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังทับ ควรตรวจเช็คใต้ท้องรถ

- ถ้าสัตว์เลี้ยงขวางทาง กดแตรเบาๆ ให้มันหลบ ควรเลี้ยวไปทางด้านหลังของสัตว์ การตัดหน้าจะทำให้สัตว์ตกใจได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ อนุสาร อสท ฉบับเดือนกันยายน 2554

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ทางเท้า' ห้ามขับ-จอดรถ

ทุกวันนี้มีรถใหม่เข้าสู่ ระบบการจราจรในกรุงเทพฯ มากเหลือเกิน จนส่งผลกระทบถึงปัญหารถติด รวมถึงปัญหาไม่มีที่จะจอดรถกันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในเมือง บ่อยครั้งที่จะเห็นมีการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า เพื่อหนีรถติดบนถนนบ้าง ย้อนศรบ้าง ซึ่งล้วนแต่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดไว้ชัดเจน ห้ามขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร (เว้นแต่รถเข็นสำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ) หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ส่วนกรณีที่ชอบขับรถยนต์ขึ้นไปจอดบนทางเท้า ก็ผิดกฎหมายเช่นกัน แม้ทางเท้านั้นจะเป็นหน้าบ้านหรือตึกแถวของตนเอง แต่ก็เป็นทางสาธารณะ ซึ่ง พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดโทษสำหรับผู้ที่จอดรถบนทางเท้า จะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ข้อหานี้ เป็นข้อหาหลักที่รวมอยู่ใน 13 ข้อหา ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ให้เข้มงวดจับกุมโดยไม่มีการออกใบเตือน เพราะเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ถ้าเจอต้องจับปรับทันที. ประกันภัยรถยนต์

ที่มา เดลินิวส์

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

สมาคมประกันวินาศภัยเสนอแก้เกณฑ์การรับประกันภัยพิบัติ ถ้าขายได้ต่ำกว่าเบี้ยที่กำหนด

สมาคมประกันวินาศภัยเสนอแก้เกณฑ์การรับ  ประกันภัย http://spser.com  พิบัติ ถ้าขายได้ต่ำกว่าเบี้ยที่กำหนด ไม่ขอส่งทำประกันต่อเข้ากองทุนฯ

นาย จีรพันธ์ อัศวธนะกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ในวันนี้ทางสมาคมประกันวินาศภัยและคณะอนุกรรมการกองทุนส่งเสริมการประกันภัย พิบัติ จะสรุปข้อเสนอใหม่ในการขายประกันภัยพิบัติ เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ ยในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่กำหนดเบี้ยไว้ 1% ของวงเงินความคุ้มครองทรัพย์สินที่ทำประกันอัคคีภัย และอุตสาหกรรมที่กำหนดเบี้ยไว้ 1.25% ถ้าขายได้ในอัตราเบี้ยที่ต่ำกว่าจะไม่ขอส่งเข้ากองทุนฯในทุกทุนประกันภัย และสามารถที่จะเพิ่มความคุ้มครองเป็น 50% ได้ทุกทุนประกันภัย จากที่กองทุนฯกำหนดไว้ว่าจะขยายได้ต้องมีทุนประกันขั้นต่ำ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

"ถ้าปลดล็อคเรื่องทุนประกันขั้นต่ำ 1,000 ล้านบาทออกไปได้ จะทำให้บริษัทประกันภัยสามารถขายประกันน้ำท่วมปกติในวงเงินทุนประกันเท่า ไหร่ก็ได้ จากปัจจุบันที่กองทุนกำหนดให้เราคุ้มครอง 1 หมื่นบาท แล้วที่เหลือต้องส่งเข้ากองทุนฯ และประกันภัยพิบัติก็เช่นเดียวกัน ในเรื่องของการจำกัดความรับผิดชอบขั้นต่ำ สามารถที่จะขยายเพิ่มตามความสามารถของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง"นายจีรพันธ์ กล่าว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานคณะกรรมการ กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมการกองทุนฯจะมีการประชุมในวันที่ 7 ก.ย.นี้ และ ยินดีที่จะพิจารณาอนุมัติตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ เพราะกองทุนฯจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริม ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อบังคับธุรกิจประกันภัย โดยปัจจุบันอัตราเบี้ยประกันต่ำลงมากเมื่อเทียบกับเบี้ยที่กองทุนฯกำหนด ทำให้ผู้ประกอบการยังไม่เข้ามาทำประกันภัยกับกองทุน

นอกจากนี้ อาจจะมีการพิจารณาปลดล็อคเรื่องที่จะต้องส่งเข้าทำประกันภัยต่อกับกองทุน ขั้นต่ำ 30% โดยให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และพิจารณาถึงการแยกความคุ้มครองขาย จากปัจจุบันที่กองทุนฯกำหนดไว้ต้องขายรวมเป็นแพคเกจ คือ พายุ แผ่นดินไหว และ น้ำท่วม อาจให้เลือกซื้อได้ จะได้ไม่เป็นภาระหากผู้ประกอบการมองว่ามีระบบป้องกันความเสี่ยงได้

นาย ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้นจากการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล จึงต้องการให้ผ่อนคลายเรื่องการจำกัดวงเงินความคุ้มครองขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 30% ของประกันภัยทรัพย์สิน แต่จะขอให้พิจารณาที่อัตราเบี้ยประกันภัยเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แสดงให้เห็นความเชื่อมั่นของทางบริษัทประกันภัยต่อที่มีต่อประเทศไทยด้วย

นาย ชัย โสภณพนิช  ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร  บริษัทกรุงเทพประกันภัย(BKI) เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาเบี้ยประกันภัยพิบัติที่บริษัทขายอยู่ที่ระดับ 0.24%-0.5% บริษัทจึงไม่ส่งประกันภัยต่อไปยังกองทุนฯ เพราะราคาเบี้ยประกันภัยต่ำกว่าของกองทุนที่กำหนดไว้ 1%-1.25% เช่น ทุนประกันภัย 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายเบี้ยประมาณ 12.5 ล้านบาทถือว่าแพง

"ดู แล้วเห็นว่า ปีนี้น้ำไม่น่าท่วมหนัก เพราะลูกค้ามีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมเสร็จถึง 90% และปริมาณฝนตกน้อยกว่าที่คาดหมายไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 40% จากปีที่ผ่านมา แต่ ณ วันนี้น้ำไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก และผู้บริหารจัดการน้ำได้บทเรียนจึงมีการป้องกันน้ำท่วมได้ดีกว่าเดิม"นาย ชัย กล่าว

นายสมพร  สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัททิพยประกันภัย(TIP) กล่าวว่า ถือว่ากองทุนฯได้ทำสำเร็จไปในระดับหนึ่งที่สามารถดึงให้เบี้ยประกันภัย พิบัติลดลงต่ำกว่าที่กองทุนฯกำหนด เพราะบริษัทประกันภัยต่อกลัวจะเสียลูกค้า จึงเข้ามาเสนอราคาเบี้ยประกันภัยที่แข่งขันกับกองทุนฯเพราะมองว่าพื้นที่ อุตสาหกรรม หรือ พื้นที่ไข่แดงทางเศรษฐกิจ มีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมที่ทำให้มั่นใจว่า หากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นจะไม่ท่วมพื้นที่ไข่แดงทางเศรษฐกิจเหมือนปีที่ผ่านมา

"ตอน นี้คนยังซื้อประกันภัยพิบัติเข้ามาไม่มาก เพราะยังไม่ครบสัญญา จะมีเข้ามามากช่วงเดือน 3 เดือนสุดท้าย ซึ่งล่าสุดที่คปภ.แจ้งไปอยู่ที่ 9.29 หมื่นราย วงเงินความคุ้มครอง 9,426 ล้านบาท เบี้ยรวม 65 ล้านบาท แต่คาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะมีผู้ทำประกันเข้ามา 7.2 แสนราย วงเงินความคุ้มครอง 3.29 แสนล้านบาท เบี้ยประกันภัยราว 3,577 ล้านบาท โดยวันที่ 7 ก.ย.นี้ก็จะเสนอชื่อบริษัทประกันภัยต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อ พิจารณา ให้ทำประกันภัยต่อไปยังต่างประเทศได้ตามที่ที่ปรึกษาประกันภัยเสนอ"นายประ เวช กล่าว


ที่มา โพสต์ทูเดย์

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องของ พ.ร.บ.


กว่าสองทศวรรษที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ทำให้ประเทศไทยมีการใช้บังคับสำหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่บังคับให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถทุกคนต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ การประกันภัย พ.ร.บ. ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. นี้ แยกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นความคุ้มครองที่เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” ซึ่งถูกกำหนดตามกฎหมายให้มีความคุ้มครอง สำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยไม่เกิน คนละ 15,000 บาท และค่าปลงศพ กรณีผู้ประสบภัย เสียชีวิต คนละ 35,000 บาท

ค่าเสียหายเบื้องต้นใน ส่วนนี้กฎหมายกำหนดให้บริษัทที่รับประกันภัยต้องชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยที่ เกิดจากรถคันที่ทำประกันภัยไว้ หรือแก่ทายาทของผู้ประสบภัยที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิตภายใน 7 วันนับแต่ได้รับการเรียกร้องโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่าย ถูก ตามหลักของการประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อให้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมีผลในการช่วย บรรเทาผลร้ายจากการเกิดอุบัติเหตุจากรถได้อย่างรวดเร็ว และ ทำให้เกิดความมั่นใจกับทุกส่วน ทุกองค์กร ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

สำหรับ ความคุ้มครองในส่วนที่สอง กำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวนไม่เกินคนละ 50,000 บาท และค่าชดเชยกรณีที่ผู้ประสบภัยรายนั้นต้องพักรักษาตัวในสถานพยาบาลโดยลง ทะเบียนเป็นคนไข้ในอีกวันละ 200.-บาท ไม่เกิน 20 วัน ถ้าหากผู้ประสบภัยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ทายาทจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์คนละ 200,000 บาท

ในการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้ถือว่าค่าเสียหายส่วน แรกเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เมื่อมีการชดใช้ค่าเสียหายส่วนแรกไปแล้ว เมื่อจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ก็จะหักเงินค่าเสียหายส่วนแรกออกไป ก่อน แล้วจึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่เหลือให้กับผู้ประสบภัย หรือทายาทของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี

ที่กล่าวมายืดยาวทั้งหมดนี้ผมมี เจตนาที่จะปูพื้นให้ทุกท่านเข้าใจกับกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับของประเทศไทยโดยสังเขปเท่านั้น เพราะสิ่งที่อยากจะกราบ เรียนท่านผู้อ่านทุกท่านในวันนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นมิติใหม่สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น ด้วยการเปิดใจกว้างของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีผลให้เกิดความ สะดวกรวดเร็วในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นของผู้ประสบภัยเป็นอย่างยิ่ง

นับ ตั้งแต่ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย พ.ศ.2535 ใช้บังคับการจ่ายค่าเสีย หายเบื้องต้น สำหรับรถที่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับไว้ถูกกำหนดให้เป็นหน้า ที่ของบริษัทที่รับประกันภัยที่จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน7 วันนั้น แต่ได้ รับการร้องขอโดยไม่ต้องรอผลการพิสูจน์ความรับผิดแต่อย่างใด ต่อมาได้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถ ยนต์ ทุกบริษัทร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เพื่อให้เป็นบริษัทที่ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรถ ยนต์ภาค บังคับให้แก่ผู้ประสบภัย โดยให้มีการบริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ดังนั้นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับไว้ จึงสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยการจัดการของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

แต่เนื่องจากรถที่วิ่งอยู่บนถนน ทุกคันไม่ได้มีการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ทุกคัน รวมไปถึงรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย เช่น รถราช การ หรือ รถยนต์ทหาร เป็นต้น รถยนต์เหล่านี้เมื่อเกิดอุบัติเหตุมีผู้ประสบภัยไม่ว่า บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จำเป็นที่จะต้องมีผู้รับผิดชอบในเบื้องต้น เพื่อให้สอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ดังนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงกำหนดให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ ประสบภัยจากรถ พร้อมๆ กับที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีผลบังคับ โดยกำหนดให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ ประสบภัย หรือทายาทผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี ผู้ที่ดูแลและทำหน้าที่จ่ายเงินของกองทุน นี้ คือ หน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัยทั่วประเทศ

ดังนั้น การชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จึงแยกกันเป็นสองส่วนโดยกำหนดให้ผู้ประสบภัยจากรถ ที่ทำประกันภัยไว้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัย หรือรับจากบริษัท กลางคุ้ม ครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด แล้วแต่ความสะดวกของผู้ประสบภัย แต่สำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ได้มีประกันภัยจะต้องรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทน ผู้ประสบภัยเท่านั้น แต่นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ได้ปรับปรุงระเบียบการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นในส่วนของค่ารักษาพยาบาล โดยได้มอบหมายให้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สามารถชดใช้ค่ารักษาพยาบาลในส่วนของค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย หรือสถาน พยาบาลที่มีสิทธิ์ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้แทนผู้ประสบภัยได้แล้ว แต่สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิต ทายาทผู้ประสบภัยยังคงต้องไปขอรับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เช่นเดิมนะครับ

ผล จากการปรับปรุงระเบียบนี้ของกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เชื่อว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวก และทำให้เกิดความมั่นใจในระบบการประกันภัยภาคบังคับได้อย่างมากมายนะครับ คงต้องมาดูผลการประเมินกันต่อไปว่าเป็นอย่างไร


ที่มาสยามธรุรกิจ

เรื่องของ พ.ร.บ.

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รู้เงื่อนไข...อุ่นใจเมื่อรถชน

รื่องปวดหัวที่สุดของผู้ใช้รถ คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องมายืนเถียงกับคู่กรณีกลางแดดเปรี้ยง

แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากเจอเรื่องแบบนี้ ดังนั้น การมีประกันภัยรถยนต์เพื่อลดความยุ่งยาก จึงเป็นเหตุผลแรกๆ ของหลายคน และก็ทำให้หลายคนเลือกประกันภัยประเภท 1 เพราะเชื่อว่าจะได้รับการดูแลระดับเฟิร์สต์คลาส

แต่ในสถานการณ์จริง เมื่อประกันมาถึง อาจจะมีความยุ่งยากก็ได้ ถ้าผู้ขับขี่นั้นไม่มีความพร้อมในเรื่องคุณสมบัติ

เรื่องที่ไม่ซับซ้อน แค่ขับรถชนกัน ก็เรียกตัวแทนเคลมประกันมาคุย ก็น่าจะจบ แต่มาลองดูว่า ปัญหานั้นอยู่ที่ตรงไหนได้บ้าง

ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป...ใช่ครับ ก็คนขับรถนั้นต้องมีใบอนุญาตและกรมขนส่งทางบกออกให้เฉพาะคนที่อายุถึงเกณฑ์ 18 ปี แต่ทุกวันนี้ ท่านเคยมองไปรอบข้างยามอยู่หลังพวงมาลัยหรือไม่ เด็กหนุ่มสาวหน้าตาละอ่อน บางคนผมเกรียนแบบนักเรียน ม.ต้น ดูอย่างไรก็ไม่มีทางอายุ 18 ปี แต่พ่อแม่ก็ปล่อยให้ขับรถออกมาห้าง หรือไปเที่ยวทะเลดูคอนเสิร์ตริมหาด ตรงนี้สร้างความยุ่งยากให้ประชาชนที่ใช้ถนนร่วมกันมาก ผิดกฎหมาย ประกันถือว่าโมฆะ ความสูญเสียมากมายที่ตามมา และอาจนำไปสู่การคอร์รัปชันหลายรูปแบบ

เรื่องต่อมาที่ต้องใส่ใจ คือ ในการคำนวณเบี้ยประกันภัยชั้น 1 และ 2 ค่าเบี้ยประกันภัยจะสัมพันธ์กับวงเงินทุนประกันภัยรถของคุณเป็นหลัก เช่น ทุนประกันภัยรถสูง = ค่าเบี้ยแพง ดังนั้น เมื่อพบอัตราเบี้ยที่แตกต่างกันให้สังเกตดูว่าทุนประกันภัยและความคุ้มครอง อื่นๆ ที่สูงกว่านั้นคุ้มค่าตามความต้องการหรือไม่

บริษัทประกันภัย จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้ขับขี่ดื่มเหล้าและเกิดอุบัติเหตุ...โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง และพึงสังวรไว้ให้มากเรื่องนี้

การนำรถที่ถูกชนมาก่อนมาทำประกันภัย โดยไม่เปิดเผย ถือเป็นการหลอกลวง บริษัทประกันภัยมีสิทธิไม่รับประกันภัยรถของคุณ หรือหากตรวจพบในภายหลังให้ถือว่าสัญญาเป็นโมฆียะ หรือไม่สามารถนำมาใช้ได้

ความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ จะคุ้มครองเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

โดยทั่วไป บริษัทประกันภัยจะไม่รับประกันภัยรถที่มีการโหลด ตกแต่ง หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์

บริษัทประกันภัยจะไม่คุ้มครอง ในกรณีนำรถไปใช้ผิดประเภท เช่น นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลนำไปใช้รับจ้าง

...เมื่อเกิดเหตุคุณควรทำอย่างไร

แจ้งอุบัติเหตุทันทีต่อบริษัทประกันภัยตามหมายเลขโทรศัพท์ที่บริษัทประกันภัยให้ไว้ มักจะให้มาในรูปแบบของสติกเกอร์ติดกระจกหน้ารถ

เมื่อ เจ้าหน้าที่บริษัทดำเนินการสำรวจความเสียหายแล้ว จะให้ใบรับแจ้งเหตุไว้ นำเอกสารดังกล่าวไปให้บริษัทประกันภัยคุมราคาทรัพย์สินที่เสียหายก่อนทำการ ซ่อม หลังจากนั้น นำรถเข้าซ่อมกับอู่ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คปภ.วางกฎเหล็ก


คปภ.ผนึกกำลังแบงก์ชาติ- ก.ล.ต.สังคายนาการทำธุรกรรมร่วมระหว่างสถาบันการเงินตลาดทุนประกันภัยชี้มาตรฐานจรรยาบรรณไร้ความหมายถึงเวลาที่ทุกอย่างต้องชัดเจนล่าสุดเตรียมออกกฎเหล็ก "3 P" ตีกรอบแบงก์แยกธุรกรรมให้ชัดทั้งก่อนขายณจุดขายและหลังการขายรวมทั้งแยกบริการทางการเงินให้ชัดขณะเดียวกันบุคลากรจะต้องได้รับการจดทะเบียนรับรองจากทางการอย่างถูกต้อง
จากการที่มีการนำเสนอปัญหาร้องเรียนกรณีการทำธุรกรรมของธนาคาร ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจประกันภัยมายังหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งหมายถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือ คปภ.ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือก.ล.ต.ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขา ธิการ คปภ. เปิดเผยกับ "ตลาดวิเคราะห์" ว่า ในกรณีปัญหานี้ที่ผ่านมา ทางการไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนในเนื้อหาของการเข้ามาดำเนินธุรกรรมในลักษณะที่เรียกว่า "แบงก์แอสชัวรันส์" เนื่องจากมองว่าธนาคารเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมช่องทางบริการทางการเงินได้เป็นอย่างดี
แต่ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารรวมทั้งตลาดทุนกับธุรกิจประกันภัยนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้การทำประกันภัยประกันชีวิตถูกมองว่ามีความเสี่ยง ทั้งที่ธุรกิจประกันภัยคือการให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนตามความต้องการของประชาชน
นอกจากนี้กรมธรรม์ประกันภัย ก็ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์การรับฝากเงิน ที่สถาบันรับประกันเงินฝากให้ความคุ้มครอง หากเอาธุรกิจประกันชีวิตประกันภัยไปผูกติดอยู่กับหน่วยลงทุนจะทำให้เกิดความเสี่ยงและปัญหาตามมาในภายหลังได้
นายประเวช มองว่าแนวทางการทำธุรกรรมของภาคการเงิน กำลังมีการพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะการทำธุรกรรมในลักษณะ " Profit Sharing" ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการประกันตามปรกติ แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน
"เวลานี้ ที่กำลังทำกันอย่างแพร่หลายก็คือ Unit Link ที่หมายถึง การทำประกันชีวิต ซึ่งส่วนหนึ่งให้ความคุ้มครอง อีกส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกรรม ที่อาศัยมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นตัวกำหนดเท่านั้นไม่ได้มีการลงลึกไปในเนื้อหาให้ชัดเจนว่า อะไรควรอะไรไม่ควร" นายประเวช กล่าว
ดังนั้น หากจะมีการนำเอาผลิตภัณฑ์หลาย ๆ ประเภทมา ผนึกรวมกัน จึงมีความจำเป็นที่ธนาคารจะต้องมีการแบ่งแยกกันให้ชัดเจนทั้งในรูปแบบและเนื้อหาของผลิตภัณฑ์ โดยทางคปภ. ได้มีการกำหนดมาตรการหรือข้อกำหนดเอาไว้ 3 ขั้นตอนหรือที่เรียกว่า "3 P"
ขั้นตอนแรก Pre Sale คือการบริการก่อนการขาย หมายความว่า ธนาคารจะต้องมีการดูแลเรื่องสถานที่ทำการขายให้ชัดเจนว่า ส่วนรับฝากเงินอยู่ตรงไหน ส่วนขายหน่วยลงทุน อยู่ตรงไหน และส่วนของการขายประกันควรจะอยู่ตรงไหน
เมื่อได้มีการแบ่งแยกแล้วก็จะต้องมีป้ายบ่งบอกที่ชัดเจน มีพนักงานที่ได้รับการจดทะเบียนขึ้นทะเบียนกับทางการอย่างถูกต้อง มีเอกสารการขายที่ถูกต้องชัดเจน รวมทั้งเอกสารจะต้องมีความพร้อมชัดเจนให้ลูกค้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ธนาคารจะต้องเตรียมความพร้อม
ขั้นตอนที่สอง Point Of Sale บริการ ณ จุดขาย ทางธนาคารจะต้องมีข้อมูลที่ผู้บริโภคเข้าใจง่าย ยกตัวอย่าง กรณีเรื่องผลตอบแทน IRR ควรจะต้องมีการเปิดเผยอย่างถูกต้องไม่คลุมเครือ
ขึ้นตอนที่สาม Post Sale บริการหลังการขาย ที่จะต้องมีการทำความเข้าใจระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการอย่างชัดเจน
"ในเรื่องโพสเซล หลังการขาย จะมีไล่ขั้นตอนพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ผ่านมาเรายังไม่ได้มีกฎเกณฑ์ออกมา ที่ผ่านมาเราเองมักจะพูดว่าผู้ให้บริการควรจะให้บริการตามมาตรฐานทางวิชาชีพและจรรยาบรรณ แต่ทางปฏิบัติจริง มันถูกตีความไปตามความเข้าใจของผู้ให้บริการ ที่ผ่านมาเรายังไม่ได้ออกกฎเกณฑ์ออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วผู้บริการควรให้บริการด้วยมาตรฐานอาชีพจรรยาบรรณ แต่ปฏิบัติจริง ไม่ได้เป็นอย่างนั้น สิ่งที่เราทำจะต้องสะกดให้ชัดเจนว่ามาตรฐานจรรยาบรรณเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้สมกับการคาดหวังของผู้บริการ นั่นคือสิ่งที่เรากำลังหารือกัน ซึ่งจะต้องมีการประชาพิจารณ์กับทางสมาคมฯ ทั้งหมด เมื่อเข้าใจตรงแล้วจึงออกมาเป็นหลักเกณฑ์" นายประเวช กล่าว
ทางด้านนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของสมาคมฯ ก็คงจะต้องยึดแนวทางที่เป็นมาตรฐานที่ทางการกำหนด ซึ่งหากทางคปภ.ต้องการให้ทางสมาคมฯ ร่วมมือ ตนก็ยินดี และเชื่อว่าหากการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นของธนาคารหรือของประกันชีวิต หากอยู่ในกรอบกติกามาตรฐานเดียวกัน ตนก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเชื่อว่าทุกฝ่ายต้องการให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด และเป็นธรรม
สำหรับในส่วนของสมาคมประกันชีวิตไทย ตนไม่ได้มองว่า จะยืนอยู่ด้านไหนแม้ว่า กิจการที่ตนเองบริหารอยู่ซึ่งหมายถึงบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จะมีธนาคารกสิกรไทย ถือหุ้นใหญ่อยู่ก็ตาม เพราะกฎกติกา ถ้าหากมีความชัดเจน ไม่ต้องตีความตนก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม และก็เชื่อว่าทางธนาคารก็จะต้องเคารพกฎกติกาที่ทางการจะนำมาให้ปฏิบัติเช่นกัน
อย่างไรก็ดี การสร้างความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากจะทำให้การวางแผนพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตที่ตนเองเป็นนายกสมาคม ฯ อยู่ สามารถเดินไปข้างหน้าโดยที่ไม่ต้องมากังวลเรื่องกฎระเบียบที่อาจจะทำให้เกิดความสับสน เพราะในเวลานี้ช่องทางการจำหน่าย ของธุรกิจประกันชีวิต แต่ละช่องทางต่างก็มีการพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะในอนาคตข้างหน้า ยังจะต้องเตรียมพร้อมที่จะรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จำเป็นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านการ "รุก" ทางธุรกิจ และการตั้งรับ กรณีการเข้ามาลงทุนของประเทศ
ต่าง ๆ ที่จะต้องมีการปรับปรุงทางด้านกฎเกณฑ์รวมทั้ง แนวทางในการดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐาน อยู่ในระดับสากล
นายสาระ ล่ำซำ กล่าวย้ำกับ "ตลาดวิเคราะห์" อย่างหนักแน่นว่า ตนจะรักษาความเป็นกลาง ไม่คิดว่าจะมีข้อขัดแย้งใด ๆ ในสมาคมฯ โดยตั้งใจอยากจะมาทำงานในเชิงพัฒนามากกว่าการเข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
ส่วนทางด้านนางสาวศิริภรณ์ พุทธรักษ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ในส่วนของตัวแทน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเข้าไปลดบทบาทของธนาคาร เพียงแต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจด้วยกัน ก็เป็นสิ่งที่ทางสมาคมฯ จะต้องออกมานำเสนอข้อมูล ซึ่งหลังจากนี้ไปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือก.ล.ต. จะมีข้อสรุปว่าอย่างไร
"ตอนนี้เท่าที่ทราบก็จะต้องรอการทำประชาพิจารณ์กันก่อนระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่สมาคมประกันชีวิต สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมตัวแทน สมาคมโบรกเกอร์ รวมทั้งสมาคมธนาคารไทย ก็จะต้องมีการเปิดโอกาสได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเท่าที่ดูแนวทางที่คปภ.นำเสนอมา ก็คิดว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะไม่ได้ถือเป็นการริดรอนการทำธุรกิจของธนาคาร แต่เป็นการวางแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องและชัดเจนขึ้นเท่านั้น" นางสาวศิริภรณ์ กล่าวย้ำอีกครั้ง
ส่วนทางด้านกลุ่มธนาคารพาณิชย์ จากการเปิดเผยของแหล่งข่าวใกล้ชิด กล่าวว่า การกำหนดมาตรการดังกล่าว เป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ เพียงแต่ถ้าหากจะให้มีการแบ่งแยกการทำธุรกรรมอย่างชัดเจน จะทำให้ธนาคารต้องใช้บุคลากรมากขึ้น ซึ่งถ้าถามว่ากระทบไหม ก็เป็นที่ชัดเจนว่ากระทบแน่ เนื่องจากตลอดระเวลาที่ผ่านมา หลาย ๆ คนมองว่าธนาคารเป็นช่องทางที่ดี จึงมีการนำเอาผลิตภัณฑ์มาฝากขาย ครั้นเมื่อทำไปแล้วเกิดขายดี มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นบริการหลังการขาย หรือความผิดพลาดเกิดขึ้น
ดังนั้น จากกฎ 3 p ที่กำลังจะมีการนำมาใช้ในอีกไม่นานนี้ จึงเป็น "โจทย์ใหญ่" ของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารที่ประสบความสำเร็จในด้าน "แบงก์แอสชัวรันส์" ก็จะต้องหาแนวทางหรือปรับแนวทางเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น
ที่มา: นสพ.ตลาดวิเคราะห์

คปภ.สั่งเกาะติดส่งเสริม ประกัน


คปภ.สั่งเจ้าหน้าที่เกาะติดความเคลื่อนไหวทางบัญชี "ส่งเสริมประกันภัย"อย่างใกล้ชิดล่าสุดส่งคนเข้าไปตรวจสอบฐานะที่แท้จริงหวั่นอาจมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินออกนอกกิจการ "ประเวชองอาจสิทธิกุล" ระบุยังไม่ได้รับการชี้แจงข้อมูลทางบัญชีกรณีการลงบัญชีรายรับหลังขีดเส้น 30 วันเผยยังอยากให้โอกาสกิจการกลับมาดำเนินธุรกิจตามปรกติหากสามารถเคลียร์ปัญหาด้านบัญชีเรียบร้อย
จากการเปิดเผยของนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวกับ "ตลาดวิเคราะห์" ถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาของ บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด ว่า ภายหลังจากที่คปภ.ได้ประกาศระงับการดำเนินธุรกรรมชั่วคราวเพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารของ บริษัท ส่งเสริมประกันภัย ได้มีการชี้แจงและแสดงข้อมูลทางบัญชีให้ถูกต้องกับความเป็นจริง โดยได้ให้เวลา 30 วัน หลังการประกาศระงับการดำเนินธุรกิจชั่วคราว นั้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ทางบริษัท ส่งเสริมประกันภัย ยังไม่ได้มีการ แสดงหลักฐานบัญชีลูกค้าให้แก่ทางสำนักงานคปภ.แต่อย่างใด โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่เพื่อไปดูแลสถานะทางการเงินของบริษัทฯ เพื่อรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในแต่ละมาตรการที่ทางการดำเนินการไป ทางคปภ.จะดำเนินการเท่าที่จะเป็น
"เราหวังว่าบริษัทฯ อาจจะปรับระบบการประกอบธุรกิจให้กลับสู่มาตรฐาน หรือดำเนินธุรกิจได้เช่นเดิม ตอนนี้เพียงสั่งห้ามขยายธุรกิจเท่านั้น ส่วนลูกค้าเดิมก็ยังได้รับความคุ้มครองต่อไป ทางเรายินดีที่จะเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินไปได้เหมือนเดิม" นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคปภ. กล่าวกับ "ตลาดวิเคราะห์"
อย่างไรก็ตาม ในการเปิดโอกาสให้กิจการสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้เหมือนเดิมนั้น จำเป็นจะต้องมีการแสดงข้อมูลหรือหลักฐานในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามมาตรฐานทางบัญชี โดยเฉพาะกรณีการลงบัญชีเบี้ยรับประกันภัยรถยนต์ประเภทที่เป็นไปโดยสมัครใจ เป็นที่คาดว่า ทางคปภ.จะมีการส่งเจ้าหน้าทีเข้าไปตรวจสอบกับ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งหลาย ซึ่งหมายถึง อู่กลาง หรือ บริษัทโบรก เกอร์ ที่ทำหน้าที่จำหน่ายกรมธรรม์ให้กับบริษัท ส่งเสริมประกันภัย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการรับรู้รายได้ของบริษัทมากกว่านี้
"หากการแก้ปัญหา ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริหาร ก็จะทำให้ปัญหาจบเร็วขึ้น ทั้งนี้เท่าที่ทราบ ไม่เพียงแต่ปัญหาเรื่องการลงบัญชีโดยใช้เกณฑ์เงินสด ที่ผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงินเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาในเรื่องกรมธรรม์ประกันภัยที่ขายออกไป กับจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งเรื่องนี้ทางคปภ.ได้มีการสั่งการให้ทาง
บริษัทฯ เร่งดำเนินการโดยจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีการควบคุมการจัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยไปสู่สาขา และตัวแทน รวมทั้งนายหน้าประกันภัย อย่างรวดเร็ว" แหล่งข่าวกล่าว
พร้อมกับเปิดเผยว่า สิ่งที่คปภ.ตรวจสอบพบ จะเห็นว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัท ส่งเสริมประกันภัย
มีความล่าช้าในการส่งกรมธรรม์แก่ลูกค้า ซึ่งแลดูเหมือนกับเป็นการรับเบี้ยประกันมาล่วงหน้า แต่ไม่ส่งกรมธรรม์ให้ ซึ่งถ้าการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้ หากปล่อยให้มีการดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการควบคุมหรือ ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของคปภ. ก็อาจจะส่งผลเสียหายต่อประชาชนผู้เอาประกัน
ดังนั้นตรงนี้จึงเป็นเหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่ทางคปภ.จำเป็นจะต้องมีการสั่งระงับการขายกรมธรรม์แก่ประชาชน ซึ่งสิ่งที่ทางคปภ.ดำเนินการอยู่เพียงแต่ต้องการให้กิจการดำเนินธุรกิจไปอย่างโปร่งใส
"ถ้าธุรกิจทำอย่างตรงไปตรงมา เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนได้ เราก็คงไม่เข้าไปทำให้กิจการสะดุด เนื่องจากจะทำให้ภาพพจน์ของกิจการเสียหาย แต่ถ้าหากไม่เข้าไปดำเนินการอะไรเลย ก็เท่ากับว่าคปภ.หย่อนยานในด้านการกำกับและดูแล เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีอะไรที่เสียหายร้ายแรง ทางเราก็คงจะต้องปล่อยให้กิจการเขาดำเนินการไปตามปรกติ ซึ่งเรายังคงให้เวลาอีกประมาณ5-6 เดือนในการ แก้ไขระบบการบริหารและระบบบัญชี" แหล่งข่าวจากคปภ.กล่าว
ที่มา:นสพ.ตลาดวิเคราะห์

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบสั่งหายต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ผู้ขับขี่ถูก เจ้าหน้าที่ตำรวจออกใบสั่งให้ แล้วดันทำหายไปเมื่อต้องการที่จะไปจ่ายค่าปรับตามใบสั่งให้ถูกต้อง จะต้องทำอย่างไรบ้าง 

 

ในกรณีนี้กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) มีข้อชี้แจงว่า หากทำใบสั่งหายถ้าเป็นใบสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนใบสั่งนั้น ๆ ให้ ให้ไปติดต่อยังสถานีตำรวจที่ออกใบสั่งให้ ในวันและเวลาราชการ โดยต้องแจ้งความกรณีใบสั่งหายก่อน หลังจากนั้นจึงทำการจ่ายค่าปรับตามข้อหาที่ระบุในใบสั่งนั้น 

 

แต่ถ้าเป็นใบสั่งที่ออกโดยกล้องจับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร http://www.spser.com/ หรือ เรดไลต์คาเมร่า ให้ติดต่อขอคัดสำเนาใหม่ ที่ บก.จร. เลขที่ 123 หมู่  2 ถนนวิภาวดี รังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ในวันและเวลาราชการและสามารถชำระค่าปรับได้ที่ ชั้น 1 บก.จร.เช่นกัน 

 

ทั้งนี้ผู้ขับขี่ถูกออกใบสั่ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ถูกยึดใบขับขี่ด้วย หรือเป็นเพียงใบสั่งลอยที่แปะไว้ที่หน้ารถ หรือเป็นใบสั่งที่ส่งถึงบ้าน ก็ควรไปจ่ายค่าปรับให้เรียบร้อยถูกต้องตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงปัญหาถูกอายัดทะเบียนตอนไปชำระภาษีประจำปี.

 

แหล่งข้อมูลที่มา เดลินิวส์

ใบสั่งหายต้องทำอย่างไร


ในกรณีที่ผู้ขับขี่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจออกใบสั่งให้ แล้วดันทำหายไปเมื่อต้องการที่จะไปจ่ายค่าปรับตามใบสั่งให้ถูกต้อง จะต้องทำอย่างไรบ้าง ในกรณีนี้กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) มีข้อชี้แจงว่า หากทำใบสั่งหายถ้าเป็นใบสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนใบสั่งนั้น ๆ ให้ ให้ไปติดต่อยังสถานีตำรวจที่ออกใบสั่งให้ ในวันและเวลาราชการ โดยต้องแจ้งความกรณีใบสั่งหายก่อน หลังจากนั้นจึงทำการจ่ายค่าปรับตามข้อหาที่ระบุในใบสั่งนั้น แต่ถ้าเป็นใบสั่งที่ออกโดยกล้องจับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร หรือ เรดไลต์คาเมร่า  อัพเดรตบทความ  ได้ที่  ประกันภัยรถยนต์ สาระความรู้ 

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แก้กองทุนฯให้อำนาจบ.กลางจ่าย

บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจับมือคปภ. และสมาคมประกันวินาศภัยเอาใจประชาชน รื้อกฎกติกาใหม่เบิกจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทกลางฯ ได้โดย ไม่ต้องมีใบบันทึกประจำวัน โดยกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้มอบหมายให้บริษัทกลางฯ สำรองจ่ายไปก่อน ตัดปัญหายุ่งยากทั้งโรงพยาบาลและผู้เอาประกัน เริ่มดีเดย์ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2555 นี้เป็นต้นไป นายประสิทธิ์ คำเกิด รองกรรมการผู้จัดการด้านปฎิบัติการ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันวินาศภัย และบริษัทกลางฯ ได้ร่วมกันแก้ไขการ เบิกจ่ายเงินกองทุนทดแทนของ ผู้ประสบภัย คือ สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย โดยอาศัยตามพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ ในมาตรา 10 ทวิ (1) ให้บริษัทกลางฯ ทำหน้าที่รับคำร้อง ขอและจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนตามพ.ร.บ.ฯ แทนบริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมอบหมาย โดยกองทุนฯ จะได้มอบหมายให้บริษัทกลางฯ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสำรองจ่าย ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 23 ในส่วนของคำร้องที่ไม่มีบันทึกประจำวัน โดยจะเริ่ม มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 นี้เป็นต้นไป โดยต่อไปนี้โรงพยาบาล หรือผู้ประสบภัยจากรถยังคงต้องใช้บันทึกประจำวันในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ แต่ทั้งนี้หากผู้ประสบภัยรายใดไม่สามารถนำบันทึกประจำวันมาได้ ก็ให้ใช้บันทึกรับรองการเกิดเหตุเพื่อใช้เป็นเอกสารสิทธิ์ ว่า ประสบภัยจากรถ ก็สามารถรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ โดยบริษัทกลางฯพร้อมจะทำหน้าที่สำรองจ่ายไปก่อน และจึงไปเบิกกับกองทุนฯในภายหลัง นายประสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ส่วนกระบวนการดำเนินงานของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่จะไปเรียกเงินคืนจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยนั้น ก็จะมีแนวทางตกลงร่วมกันเพื่อยึดถือปฎิบัติต่อไป โดยการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อตอบสนองเจตนารมย์ของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อให้ผู้ประสบภัยหรือสถานพยาบาลที่ทำการรักษานั้นๆได้เกิดความเชื่อมั่นและได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมย ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง บริษัทกลางฯก็พร้อมให้ความร่วมมือและยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก อนึ่ง ทั้งนี้การเปลี่ยนกฎระเบียบกติกาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้เจ้าของรถหลีกเลี่ยงการทำประกันรถตามพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถแต่อย่างใด เจ้าของรถยังคงมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยตามพ.ร.บ.ฯฉบับนี้ หากฝ่าฝืนยังมีบทลงโทษ ตามกฎหมายคือ ปรับ 1 หมื่นบาทอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เจ้าของรถทุกคันมีผลในการคุ้มครองสูงกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นที่กรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ(พ.ร.บ.)กำหนดจ่ายให้กรณีบาดเจ็บแก่ร่างกายของผู้ประสบภัยที่ถูกกระทำให้เกิดความเสียหาย สูงสุดถึง 5 หมื่นบาท หรือกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร สูญเสียอวัยวะ 2 แสนบาท และหากผู้ประสบภัยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจะได้รับเงินชดเชยอีกวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20วัน หากรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นมีการเอาประกันภัยตามพ.ร.บ.ฯนี้ จึงอยากจะเชิญชวนให้เจ้าของรถทุกคันได้จัดทำประกันภัยพ.ร.บ.ฯเอาไว้ เพื่อสร้างหลักประกันต่อความคุ้มครองสำหรับการบาดเจ็บและเสียชีวิตของบุคคล อันเป็นการร่วมรับผิดชอบต่อสังคม และแบ่งเบาภาระของรัฐบาลทางด้านการดูแลได้อีกทางหนึ่งด้วย อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ฉบับที่ 233 ปักษ์แรก ประจำวันที่ 1-15 สิงหาคม 2555

3 เดือนรู้ผล..เพิ่มคุ้มครอง

3 เดือนรู้ผล..เพิ่มคุ้มครองประกันภัยพ.ร.บ. ไม่กี่เดือนก่อน "สยามธุรกิจ" เปิดประเด็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เตรียมจะทบทวนความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ประกันภัยรถภาคบังคับ) อีกครั้ง โดยจะทำควบคู่ไปกับการพัฒนาการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่ให้โรงพยาบาลสามารถวางบิลเบิกค่ารักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (อี-เคลม:E-Claim) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมาเพื่อเพิ่มความ สะดวกให้กับผู้ประสบภัยจากรถได้รับการ เยียวยาทันท่วงที >> เคลมน้อยเพิ่มคุ้มครองไม่ขึ้นเบี้ยลดค่าต๋งบริษัทกลางฯ-คปภ.มีลุ้น "เรื่องประกันภัยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรามีแนวคิดที่จะขยาย ความคุ้มครองเพิ่มแต่จะพิจารณากันในอีก 3 เดือนนับจากนี้เดือนสิงหาคมที่เราเริ่มให้ โรงพยาบาลวางบิลเบิกค่ารักษาพยาบาลกับกองทุนฯผ่านระบบอี-เคลมได้ เราจะติดตาม ตัวเลขการเคลมในช่วง 3 เดือนจากนี้มีเคลมน้อยหรือมาก ถ้าเคลมน้อยเราจะเพิ่ม ความคุ้มครองแต่จะไม่ขึ้นเบี้ยประกันเพราะ ไม่ต้องการให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป แต่ถ้าเคลมเยอะจะคงความคุ้มครอง เท่าเดิม "เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) "ประเวช องอาจสิทธิกุล" กล่าว เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า หลักการ พิจารณาจะต้องนำเบี้ยประกันและอัตราสินไหมทดแทนมาเทียบกันจะดูภาพรวมราคาเบี้ยประกันภัยรถทุกประเภท ส่วนตัวเชื่อว่าอัตราการเคลมไม่น่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากช่วงหลังๆ มีการรณรงค์ลดอุบัติ เหตุบนท้องถนนต่อเนื่อง ทำให้อุบัติเหตุเกิด น้อยลง อีกทั้งยังมีการสร้างกลไกการเบิก จ่ายค่าสินไหมง่ายขึ้น ส่วนกรณีที่บริษัทประกันภัยจะเสนอ ให้คปภ.ปรับลดเงินสมทบที่บริษัทประกันภัยต้องนำส่งให้กับบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และสำนักงานคปภ.เพื่อลดภาระบริษัทประกันภัยหากมีการเพิ่มความคุ้มครองประกันภัยพ.ร.บ.นั้น เลขาธิการคปภ.กล่าวว่า ยังไม่พูดถึงเรื่อง นี้ต้องดูอัตราการเคลมก่อน >> จ่ายสินไหมผ่านอี-เคลมใน7วัน ตั้งบ.กลางฯบริหารจัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประสบภัยจากรถ จากกรณีชนแล้วหนี รถไม่มีประกันภัยสามารถวางบิลเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก กองทุนฯ ผ่านระบบอี-เคลมได้ ซึ่งทางกองทุนฯ จะจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารครบถ้วนโดยที่ผู้ประสบภัยไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน โดยคปภ.ในฐานะผู้บริหารกองทุนได้มอบหมาย ให้บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งในเรื่องการ สำรองจ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไปก่อน แล้วค่อยมาตั้งเบิกกับกองทุนทีหลังรวมถึงการติดตามรวบรวมเอกสารใบบันทึกประจำวันจากตำรวจซึ่งต้องใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกค่าเสียหายจากกองทุนฯ "วิวัฒน์ เกิดไพบูลย์" รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายคดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์สำนักงานคปภ.กล่าวกับ "สยามธุรกิจ" ว่า ระยะเวลา 3 เดือนที่ขอดูตัวเลขเคลม ก่อนจะพิจารณาเพิ่มความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ.เป็นเวลาที่เหมาะสมพอจะเห็นภาพ หลังจากนั้นทั้งคปภ.และภาคธุรกิจจะมาพิจารณาร่วมกัน การปรับระบบการเบิกค่า เสียหายเบื้องต้นจากกองทุนให้สามารถเบิกผ่านระบบอี-เคลมได้ทำให้ภาคธุรกิจต้องแบกรับภาระมากขึ้นจากการผ่องถ่ายความ รับผิดตามกฎหมายจากกองทุนไปสู่ภาคเอกชน ต้องรอดูตัวเลข "การเพิ่มความคุ้มครองต้องดูปัจจัย ทางเศรษฐกิจประกอบ เช่น สมัยก่อนค่ารักษาพยาบาลเท่านี้ตอนนี้เพิ่มเป็นเท่านี้ ค่าครองชีพ เงินเฟ้อ" กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นหน่วย งานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการันตีว่าผู้ประสบภัยจาก รถทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยพ.ร.บ.ในส่วนค่าเสียหายเบื้องต้น ตามกฎหมายผู้ประสบภัยจากรถที่มีสิทธิ์เบิกค่าเสียหายจากกองทุนฯเป็นใครก็ได้ที่ ไม่สามารถเบิกเงินจากใครได้ อาทิ รถที่ไม่มีประกันภัย, รถมีประกันภัยแต่บริษัท ประกันจ่ายช้า, ชนแล้วหนี, รถที่กฎหมาย บอกไม่ต้องทำประกันภัย เป็นต้น เบิกได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นในส่วนค่ารักษา พยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท, เสียชีวิตค่า ปลงศพ 35,000 บาท, สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาทแต่รวมทั้งหมดไม่เกิน 50,000 บาท ปัจจุบัน กองทุนมีเม็ดเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท แหล่งเงินมาจากบริษัทประกันภัยกฎหมายกำหนดให้จ่ายสมทบเข้ากองทุนปีละ 1% ของเบี้ยประกันพ.ร.บ. ในแต่ละปีกองทุนจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นประมาณ 100 ล้านบาทตัวเลขจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพราะการปรับวิธีการเบิกค่ารักษา พยาบาลผ่านระบบอี-เคลมจะทำให้ผู้ประสบภัยที่เคยไปใช้สิทธิ์เบิกจากกองทุนอื่นหัน มาเบิกจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมากขึ้น อีกทั้งวันนี้จำนวนรถที่ไม่ทำประกันภัยมีมากขึ้นรถจักรยานยนต์มีประมาณ 6 ล้านคัน เนื่องจากเลี่ยงการต่อภาษีประจำ ปีทำให้ไม่ทำประกันภัยไปด้วย ขณะที่รถประเภทอื่นอีกประมาณล้านคันส่วนหนึ่งเป็นรถเก่าไม่ได้ต่อภาษีประจำปีเช่นกัน "เราใช้ระบบอี-เคลมของบริษัทกลางที่มีอยู่แล้ว เมื่อโรงพยาบาลคีย์ข้อมูล ผู้ประสบภัยจากรถเข้าไประบบจะบอกทัน ทีจะใช้สิทธิ์เบิกจากบริษัทประกันหรือกอง ทุนฯ ถ้าใช้สิทธิ์เบิกจากกองทุนฯ เอกสารครบถ้วนเบิกตรงได้เลย ถ้าไม่ครบอย่างบันทึก ประจำวันของตำรวจไม่มีเราให้บริษัทกลาง เข้ามาช่วยดูแลรวบรวมเอกสารให้เมื่อครบให้บริษัทกลางสำรองจ่ายไปก่อนแล้วค่อยมาเรียกเก็บจากกองทุนฯที หลัง เราเดินสายให้ความรู้กับโรงพยาบาล ทั่วประเทศแล้ว ตอนนี้มีโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนเชื่อมโยงระบบออนไลน์อยู่ 1,400 กว่าแห่งทั่วประเทศเกือบครบแล้ว" >> บริษัทกลางฯ พร้อมกูรูชี้เพิ่มคุ้มครองต้องมีลิมิต ด้าน "นพดล สันติภากรณ์" กรรม การผู้จัดการ บริษัทกลางฯ ให้ความเห็น "สยามธุรกิจ" ว่า บริษัทกลางฯ พร้อมใน การเป็นผู้ดูแลระบบอี-เคลมสำหรับการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน ทดแทนผู้ประสบภัยและได้เดินสายชี้แจง ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศแล้ว โดยเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรมาตั้งแต่ต้นปีเพื่อขยายบริการอีเคลมของบริษัทกลางฯ เองให้ครบ ถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันมีเคลมผ่านระบบ อีเคลมเฉลี่ยประมาณ 1,000 เคลมต่อวัน หากจะเพิ่มอีก 10-20% ก็ไม่มีปัญหาสามารถรับได้อยู่แล้ว ส่วนแนวคิดของคปภ.ที่จะปรับเพิ่ม ความคุ้มครองประกันพ.ร.บ.โดยไม่ปรับเพิ่มเบี้ยประกันนั้น "นพดล" ให้ความเห็น ว่า คงเป็นเรื่องที่ทางคปภ.ต้องหารือกับสมาคมประกันวินาศภัย และคงต้องรอให้ ผลออกมาก่อนไม่สามารถบอกได้ว่าควรจะ ปรับอย่างไร หรืออย่างไรจึงจะเหมาะสม แหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ให้ความเห็นกับ "สยามธุรกิจ" ว่า ประเด็นเพิ่มคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. ตอบยากอย่างถ้าจะเพิ่มความคุ้มครองโดย ไม่เพิ่มเบี้ยประกันภัยเป็นมาตรการสร้าง ประโยชน์ให้กับผู้ประสบภัย แต่คำถามคือ เพิ่มเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับความเสี่ยง ควรจะมีเกณฑ์กำหนดเพราะมีผลกระทบ ต่อผู้ประกอบการ การเพิ่มต้องมีสาเหตุเพราะอะไร เพิ่มเท่าไหร่และการเพิ่มจะยั่งยืนแค่ไหน ขณะนี้บริษัทประกันภัยยังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอยู่ยังจ่าย ค่าสินไหมกันไม่จบถ้าเพิ่มความคุ้มครองประกันภัยพ.ร.บ.จะทำให้การตั้งสำรองสินไหมเพิ่มขึ้น ความคุ้มครองที่ให้อยู่ในตอนนี้เหมาะสมแล้ว ที่มา:นสพ.สยามธุรกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประกันภัยขยาดรับก่อการร้าย 3 จ.ใต้

ประกันภัยขยาดรับก่อการร้าย 3 จ.ใต้ 09 สิงหาคม 2012 รายละเอียด ตลาดประกันภัยขยาดขายประกันภัยก่อการร้าย หลังถูกรี อินชัวเรอร์ปิดประตูรับเสี่ยงภัย ส่งผลบริษัทประกันภัยงดขายแล้วตั้งแต่ต้นปี ทิพยม้ามืดปักธงให้ลูกค้าซื้อได้ไม่อั้น หวังได้ใจตลาดรายย่อย กวาดเบี้ยก่อการร้ายเพิ่ม 20-30 ล้าน มั่นใจครึ่งปีหลังตลาดประกันภัยรายย่อยคึกคัก หลังกันยายนหมดอายุสัญญา นายจีระพันธ์ อัศวธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยถึงทิศทางการรับประกันภัยใน 3 จังหวัดภาคใต้ ว่า มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเกือบทุกบริษัทขณะนี้ไม่เปิดขายประกันภัยก่อการร้าย โดยมองว่าเป็นภัยที่เกี่ยวข้องทางการเมือง เห็นได้จากเมื่อเกิดความเสียหายภาครัฐจะเข้ามาเป็นฝ่ายเยียวยาภายหลัง ส่วนจังหวัดอื่นหากจะซื้อประกันภัยดังกล่าวก็มีอัตราเบี้ยที่สูงมาก เนื่องจากอัตราเบี้ยจะคิดตามพื้นที่ ทำเล ที่ตั้ง และลักษณะธุรกิจ ส่วนแบบประกันที่ยังสามารถซื้อเพิ่มได้คือประกันอัคคีภัย (ไฟไหม้) เพียงแบบเดียวเท่านั้น "ต้องยอมรับว่าทั้งโลกและไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ไม่มีบริษัทไหนขายประกันภัยก่อการร้ายแล้ว แต่ก็มีในต่างประเทศซึ่งมีบริษัทประกันภัยต่อหนึ่งเดียว คล้ายกับลักษณะกองทุนอยู่ในตลาดลอยด์ที่ยังรับภัยก่อการร้ายอยู่ โดยส่วนใหญ่ที่รับจะมีทุนประกันภัยมหาศาล เช่น ตึกเอ็มไพร์ สเตต ส่วนตลาดเอเชีย หรือแม้แต่ไทยที่มีมูลค่าทุนประกันต่อกรมธรรม์ไม่สูง จึงไม่อยู่ในพื้นที่ที่เข้ามาให้บริการ" ด้านนายทนงศักดิ์ ศรีเรืองสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทยังคงขายประกันภัยก่อการร้าย และยังไม่ได้ยกเลิกแบบประกันดังกล่าวเหมือนบริษัทอื่นแต่อย่างใด โดยทั้งหมดขายผ่านตัวแทนกว่า 6,600 คนทั่วประเทศ นายหน้า-โบรกเกอร์เป็นหลัก สำหรับกลุ่มที่ซื้อประกันภัยก่อการร้ายหลักๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้น ยังมาจากภาคธุรกิจอันดับ 1 คือ ห้างสรรพสินค้า รองลงมาคือโรงแรมและเสาสื่อสาร เช่น เสาโทรศัพท์ เสาและสายส่งไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ ที่มีการซื้อประกันภัยในแถบจังหวัดสงขลา โดยขายแยกจากประกันอัคคีภัย ซึ่งแบ่งอัตราเบี้ยประกันภัยออกเป็น 2 พื้นที่ ได้แก่ นอกพื้นที่ 3 จังหวัด เริ่มต้นคุ้มครองที่ 1แสน-1ล้านบาท โดยคิดเบี้ยเริ่มต้นที่ 400 ,450 ,500 ,550 ,600 ,650 ,750 ,850 ,950 และ 1,250บาทตามลำดับ ส่วนพื้นที่ 3 จังหวัด และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา คุ้มครองเริ่มต้นที่ 1แสน-1ล้านบาท อัตราเบี้ยเริ่มต้น 700, 900, 1100, 1300, 1500, 1700, 1900, 2100, 1300 และ 2,500บาท ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มบริษัทจะคิดพิกัดเบี้ยเพิ่มทุก 1แสนบาท "พื้นที่ที่มองว่ามีปัญหานั้นน่าจะทำให้ประกันภัยกลุ่มนี้ขยายตัว ทำให้เบี้ยประกันรับตรงเพิ่มขึ้นใกล้เคียง 20-30 ล้านบาท โดยเฉพาะครึ่งปีหลังจะเป็นโอกาสทองของประกันภัยก่อการร้าย ที่ได้รับการสอบถามและซื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้เอง" นายทนงศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ตั้งแต้ต้นปีที่ผ่านมามีบริษัทประกันภัยไม่น้อยหรือเกือบทั้งหมดยกเลิกการขายประกันภัยก่อการร้ายแล้ว ซึ่งหากถามว่าผิดปกติหรือไม่ ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าไม่ใช้เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด เพราะภัยก่อการร้ายนั้น ท้ายที่สุดจะต้องส่งงานให้กับต่างประเทศหากบริษัทใดซื้อประกันต่อไม่ได้แล้วก็ต้องเลิกขายไป เนื่องจากแบกรับความเสี่ยงไม่ไหว ซึ่งจะต่างจากทิพยที่เน้นตลาดประกันเบ็ดเตล็ดเป็นหลัก โดยจากตัวเลขตั้งแต่ต้นปีก็ยังไม่มีการเรียกเคลมจากการถูกระบุว่าเป็นภัยก่อการร้ายแม้แต่รายเดียว สำหรับสัญญาประกันภัยก่อการร้ายของบริษัท จะครบต่อสัญญาในเดือนกันยายน 2555 โดยสัญญาเป็นแบบต่ออายุปีต่อปี ซึ่งที่ผ่านมามีการซื้อคิดเป็นเบี้ยประกันแล้วเกือบ 800 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปบริษัทจะเน้นกลยุทธ์การขายประกันภัยในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะ 3 จังหวัดและ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยจะมุ่งเจาะลูกค้ารายย่อยโดยเฉพาะบ้าน และที่อยู่อาศัยรวมถึงร้านค้าขนาดเล็ก เพราะจากการศึกษาพบว่าประชาชนในพื้นที่มีการตื่นตัวอย่างมาก แม้ที่ผ่านมาตลาดประกันภัยก่อการร้ายยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่สนใจซื้อมากกว่าก็ตาม "ข้อดีของทิพยคือ เราเปิดกว้างให้ใครก็ได้ที่ต้องการทำประกันภัยก่อการร้าย สามารถทำได้ทั่วประเทศ ขณะที่เบี้ยประกันก็ไม่ถือว่าแพง ซึ่งต่างจากบริษัทอื่นหากยังขายก็จะเปิดขายในพื้นที่ที่ไม่ใช่ 3จังหวัดและ 4อำเภอ" ด้านแหล่งข่าวจากกลุ่มอาคเนย์ กล่าวว่า ทิศทางและนโยบายการรับประกันในเขตพื้นที่ภาคใต้อยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ดบริหาร โดยคาดว่าจะชัดเจนภายในสิ้นเดือนนี้ สำหรับพอร์ตงานลูกค้าที่อยู่ทางภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประกันภัยรถยนต์ ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารธนชาต ระบุว่า บริษัทเลิกขายประกันภัยก่อการร้ายแล้วตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยให้ข้อมูลตรงกันว่าอาจมีบริษัทประกันไทย 1-2 ราย จาก 50 กว่าบริษัทที่ยังคงขายประกันภัยก่อการร้ายนี้อยู่ เช่นเดียวกับบริษัทวิริยะประกันภัยฯ และกรุงเทพประกันภัย ซึ่งกรมธรรม์ได้เต็มมาตั้งแต่ปลายปี 2554 ที่มา:นสพ.ฐานเศรษฐกิจ

ความเสียหายส่วนแรกในหน้าตาราง

ความเสียหายส่วนแรกในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ จะมีข้อกำหนดในเรื่องความเสียหายส่วนแรกไว้ ซึ่งจะมีทั้งในหน้าตารางกรมธรรม์ และในส่วนของเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยจะกำหนดให้ความเสียหายส่วนแรกเป็นความรับผิดชอบของผู้เอาประกันภัย พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์กำหนดความหมายของความเสียหายส่วนแรกไว้อย่างตรงตัวว่า คือ ส่วนแรกของความรับผิดที่เกิดขึ้น และในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กำหนดให้ความเสียหายในส่วนนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เอา ประกันภัย หรือเป็นส่วนยกเว้นความรับผิดของบริษัทที่รับประกันภัย ความเสียหายส่วนแรกนี้มีด้วยกันหลายประการ มีทั้งในส่วนที่เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทที่รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย และมีทั้งในส่วนที่กำหนดขึ้นโดยเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งพอจะแยกได้ดังนี้ 1.ความเสียหายส่วนแรกที่เกิดขึ้นจากการตกลงกันระหว่างบริษัทที่รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย มีขึ้นเพื่อจัดเป็นส่วนลดของเบี้ยประกันภัย โดยมีความเสียหายส่วนแรกทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายของตัวรถยนต์ที่ทำ ประกันภัย และความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอก โดยมีข้อกำหนดสำหรับ ส่วนลดต่อความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้ ก. ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ คันที่ทำประกันภัย - 5,000.- บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 100% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก - ส่วนที่เกินกว่า 5,000.- บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 10% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก ข. ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถ จักรยานยนต์ - 1,000.- บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 100% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก - ส่วนที่เกินกว่า 1,000.- บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 20% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก ค. ความเสียหายส่วนแรก สำหรับความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สิน บุคคลภายนอก - 5,000.- บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 10% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก - ส่วนที่เกินกว่า 5,000.- บาทแรก ลดเบี้ยประกันภัย 1% ของจำนวนเงิน ความเสียหายส่วนแรก ความเสียหายส่วนแรกในกรณีนี้จะปรากฏรายละเอียดอยู่ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งบริษัทประกันภัยจะต้องแจ้งรายละเอียดของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรกนี้ให้ผู้เอาประกันภัยทราบอย่างชัดเจนก่อนจะตกลงรับประกันภัย เพราะหากผู้เอาประกันภัยไม่ทราบ หรือทราบไม่ชัดเจน ต่อมาภายหลังหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะต้องมีข้อโต้เถียงกัน ซึ่งเคยมีกรณี ตัวอย่างมาหลายครั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปกติก็คือ บริษัทที่รับประกันภัยมักจะกำหนดจำนวนเงิน ความเสียหายส่วนแรกไว้ โดยกำหนดสำหรับรถที่มีความเสี่ยงสูง ๆ หรือจากประสบ- การณ์ของบริษัทที่รับประกันภัยเองอาจพบว่า รถบางประเภทมักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ ทำให้มีจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนต่อการรับประกันภัยสูงมาก บริษัทอาจ กำหนดจำนวนเงินสำหรับความเสียหายส่วนแรกไว้สำหรับการรับประกันภัยรถประเภทดังกล่าว และจัดส่วนลดเบี้ยประกันภัยไว้ตามที่พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยกำหนดไว้ข้างต้น แต่ผู้เอาประกันภัยอาจไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องความเสีย หายส่วนแรก เพราะตัวแทนหรือนายหน้าที่เป็นคนกลางในการติดต่อทำประกันภัยไม่แจ้งเรื่องให้ทราบ เมื่อรถคันที่ทำประกันภัยไว้นั้นเกิดเหตุขึ้นก็จะเกิดการโต้เถียงกันในเรื่องความรับผิดชอบที่ถูกกำหนดไว้ ดังนั้น ตัวแทนและนายหน้าจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเสียหายส่วนแรกให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้อธิบายให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบและเข้าใจอย่างชัดเจน ทางออกอีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง บริษัทที่รับประกันภัยอาจจะต้องจัดทำเอกสารพิเศษสำหรับจำนวนเงินความเสียหายส่วน แรก เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อรับกรมธรรม์ประกันภัย เพราะ รายละเอียดที่ปรากฎในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจอาจเห็นได้ไม่ชัด ปัญหาเรื่องความเสียหายส่วนแรกเป็นปัญหาใหญ่นะครับ ในครั้งต่อ ไปคงจะได้มาชี้แจงเกี่ยวกับความเสียหายส่วนแรกในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย รถยนต์ภาคสมัครใจนะครับ ที่มา:นสพ.สยามธุรกิจ ผู้นำเสนอ เอสพีโพสแอนด์เครดิต ประกันภัยรถสิบล้อ

รณรงค์สวมหมวกกันน๊อค

ช่วงนี้มีการรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรทางถนนหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องรณรงค์ให้ใส่หมวกนิรภัย หรือที่เรียกกันทั่วไปกันน็อก 100% แล้วหมวกกันน็อกแบบไหนที่ถูกกฎหมาย ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ว่า “หมวกนิรภัย” หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ โดยให้ใช้ได้ 3 แบบ คือ “หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า” หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวก เป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี “หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ” หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็น รูปทรงกลม ปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิด เหนือคิ้ว บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี “หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ” หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี ทั้ง 3 แบบ คือกระจกบังลมต้องใสไม่มีสี แม้เป็นแบบฉาบปรอทก็ไม่ได้ โดยในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และคนโดยสารต้องสวมหมวกนิรภัยโดยจะต้องรัดคางด้วยสายรัดคางหรือเข็มขัดรัดคางให้แน่นพอที่จะป้องกันมิให้ หมวกนิรภัยหลุดจากศีรษะได้หากเกิดอุบัติเหตุ. แหล่งที่มา ประกันภัยรถยนต์

ไม่รับลูกค้า‘ส่งเสริมประกันฯ

ไม่รับลูกค้า‘ส่งเสริมประกันฯ’รพ.-อู่ป่วน!หวั่นชวดค่าซ่อม-ค่ารักษา หลัง “คปภ.” สั่งหยุดรับประกันชั่วคราว พร้อมส่งคณะกรรมการเข้าควบคุม “บ.ส่งเสริมประกันภัย” เริ่ม ส่อเค้าบานปลายแล้ว!! ทั้งอู่-โรงพยาบาลพากันป่วน! ทั้งที่ไม่เคยมีปัญหาค้างคาเรื่องค่าสินไหม เหตุแตกตื่นคำสั่งทางการ ต่างพากัน “งดรับ” ลูกค้าประกันภัยจากบริษัทส่งเสริมฯ ทาง “คณะกรรมการ” ยืนกรานมีอำนาจจ่ายค่าสินไหมให้ได้เฉพาะเจ้าของรถ ผู้เอาประกัน หรือผู้ประสบภัยตามสัญญาประกันภัยเท่านั้น ขณะอู่ซ่อมรถทางเหนือระส่ำหนักส่งหนังสือเวียนห้ามรับงานจาก บ.ส่งเสริม!! แหล่งข่าวจากผู้ประกอบ การอู่ซ่อมรถรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกแถลงผ่านเว็บไซต์ www.oic.or.th โดยระบุว่า สำนักงาน คปภ. ตรวจพบว่า บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด (บริษัทฯ) มีการดำเนินการในลักษณะ ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน โดยไม่มีระบบควบคุมการจำหน่าย จ่ายแจกกรมธรรม์ประกันภัยที่ครบถ้วนรัดกุม ไม่มีระบบการสอบยันกรมธรรม์ประกันภัยที่จำหน่าย และเงินค่าเบี้ยประกันภัยให้ถูกต้องตรงกัน มีการรับประกันภัยโดยไม่บันทึกบัญชี หรือบันทึกบัญชีล่าช้า ประกอบกับไม่มีการตรวจสอบการลงบันทึกบัญชี และสมุดทะเบียนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายมีการบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์เงินสด ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน ทำให้ไม่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริง ขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้นนายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของ คปภ. จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 แห่ง พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 สั่งให้บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป และช่วง ระยะเวลาดังกล่าว บริษัทต้องเร่งดำเนินการ โดยจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพโดยคปภ.ได้ส่งคนเข้าไปควบคุมดูแลกิจการในขณะนี้อย่างเข้มงวด แหล่งข่าวรายนี้ กล่าวว่า จากมาตรการของคปภ.ที่เข้าควบคุมดังกล่าวถือว่า กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ ไปหรือไม่ เพราะเกรงว่าจะทำให้เหตุการณ์อาจลุกลามบานปลาย จนทำให้จากบริษัทที่ยังอยู่ในสภาพดีๆกลายเป็นบริษัทแย่ลงทันตาเห็นก็ได้ เพราะขณะนี้เริ่มส่งผลกระทบบานปลายให้อู่ต่างพากันงดรับงานซ่อมรถลูกค้าของบริษัทส่งเสริมฯเข้ามาจำนวนมาก โดยต่างหวั่นวิตกว่าจะไม่ได้เงินค่าซ่อมรถของลูกค้าส่งเสริมประกันภัยที่ได้จัดซ่อมไปแล้ว จึงทำให้เจ้าของอู่ต่างไม่กล้ารับซ่อมรถที่เข้ามาซ่อมใหม่ เพราะเกรงว่าจะไม่ได้เงินค่าซ่อมเก่าและค่าซ่อมใหม่ไปพร้อมกัน ทั้งๆที่กรณีของบริษัทส่งเสริมประกันภัยนั้นไม่ได้มีปัญหาติดค้างค่าสินไหมกับอู่ที่ผ่านมาแต่อย่างใด หรือกระทั่งมีปัญหาขาดสภาพคล่องและมีปัญหาเงินกองทุนเหมือนกับบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย หรือหลายบริษัทที่ปิดกิจการลงไปแล้วก่อนหน้านี้แต่อย่างใด เพียงแต่ติดปัญหาการลงบัญชีไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง ซึ่งคปภ.ไม่น่าจะเข้าไปควบคุมถึงเรื่องการจ่ายสินไหมขนาดนี้ เพราะถือเป็นเส้นเลือดใหญ่โดยเฉพาะค่าสินไหมถือเป็นตัวเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบประกันภัย โดยเฉพาะในประเด็นเดียวที่คปภ.ได้มีประกาศนายทะเบียนเรื่องกำหนดการจ่ายเงินอื่นของบริษัทส่งเสริมประกันภัยจำกัด ที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวพ.ศ.2555 ในข้อ 4.1 ได้ระบุให้การจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยโดยตรงเท่านั้น จึงจะเบิกค่าสินไหมทดแทนได้ โดยคณะกรรมการที่เข้าไปควบคุมยืนยันว่า จะต้องเป็นประชาชนที่เป็นเจ้าของรถ หรือเป็นผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยโดยตรงเท่านั้นที่จะเบิกได้ แต่ในกรณีอู่ถือว่าไม่ใช่ จึงปฎิเสธการเบิกจ่ายค่าสินไหมให้กับอู่ ซึ่งขณะนี้ทราบมาว่า คณะกรรมการอู่กลางฯในภาคเหนือได้ทำหนังสือเวียนสมาชิกเขาหมดแล้วว่า ห้ามรับซ่อมงานรถยนต์ของบริษัทส่งเสริมฯ ด้านแหล่งข่าวจากโรงพยาบาลเอกชนรายหนึ่ง กล่าวว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลเอกชนก็ประสบปัญหาทำนองเดียวกัน โดยทางโรงพยาบาลต่างปฎิเสธคนไข้ที่เป็นลูกค้าหรือผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทส่งเสริมประกันภัยกันแล้ว เพราะไม่มั่นใจว่า จะเบิกเงินกับบริษัทได้หรือไม่ หากรักษาคนไข้ที่เป็นลูกค้าไปแล้ว ซึ่งล่าสุดก็ทราบมาว่า ได้มีคนไข้โรงพยาบาลบางแห่งไปขอเบิกเงินค่ารักษาแค่ 312 บาทกับทางบริษัททันทีที่มีข่าวว่า ถูกคปภ.สั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราว ปรากฎว่า ได้รับการปฏิเสธจากทางบริษัท เพราะเห็นว่าคณะกรรมการของคปภ.ที่ส่งเข้าไปควบคุมกิจการอ้างว่า ไม่สามารถจ่ายให้ได้เพราะผิดระเบียบ ขนาดบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ยังไม่กล้าจ่ายแทนสำหรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพราะกลัวไปเบิกคืนเอากับบริษัทส่งเสริมฯไม่ได้ ถึงขนาดโรงพยาบาลเอกชนบางโรงได้โทรมาหารือเรื่องนี้ยอมรับว่าจะให้ทำอย่างไรกันดี เพราะมีบางโรงพยาบาลได้ไปตั้งเบิกกับส่งเสริมฯกับบริษัทกลางฯแล้ว แต่บริษัทกลางฯบอกว่า ไม่มีกำหนดจ่าย จนกว่าคปภ.จะเคลียร์ได้ว่า บริษัทจะเบิกคืนได้ไหม ในเมื่อเขาไม่ได้เป็นผู้เอาประกันโดยตรง อนึ่ง ตามรายงานของคปภ.ล่าสุดพบว่า บริษัทขายประกันภาคบังคับหรือประกัน พ.ร.บ.เป็นส่วนใหญ่ โดยใน 4 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมีเบี้ยรับรวม 348.44 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา5.61% โดยมีจำนวนกรมธรรม์ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ 5.08 แสนฉบับ แบ่งเป็น กรมธรรม์ทั้งหมดแยกเป็นประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล 45 รายประกันอัคคีภัย 213 ราย ประกันสินค้า 59 ราย ประกันภัยพ.ร.บ.5.04 แสนราย ประกันภัยภาคสมัครใจ 4,159 ราย ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน 1 ราย อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ฉบับที่ 233 ปักษ์แรก ประจำวันที่ 1-15 สิงหาคม 2555 ผู้นำเสนอ

ป้ายต่างประเทศใช้ในไทย

ยังมีหลายคนสงสัยว่า คนไทยขับรถยนต์ป้ายทะเบียนต่างประเทศผิดกฎหมายหรือไม่ เรื่องนี้ได้สอบถามไปที่กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) แจ้งว่า กรณีดังกล่าวผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์มาตรา 11 ระบุว่า รถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ มีหมวดอักษร ตัวเลข และชื่อจังหวัด ส่วนแผ่นป้ายทะเบียนรถที่ใช้ตามความตกลงระหว่างประเทศ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในความตกลงระหว่างประเทศนั้น ทั้งนี้ให้กรมการขนส่งทางบกจัดให้มีแผ่นป้ายทะเบียนรถที่ใช้ตามความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อนำไปใช้เมื่อเข้าไปยังประเทศที่ได้รับความตกลงกัน และเมื่อนำรถกลับเข้ามาในประเทศไทย ให้นำแผ่นป้ายทะเบียนต่างประเทศออกและนำป้ายรถของประเทศไทยใส่กลับให้เรียบร้อย ถ้าไม่ทำจะมีความผิดในข้อหา ใช้รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนไม่ถูกต้องตามกฎกระทรวง ตามมาตรา 60 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ที่มา เอสพีโพสแอนด์เครดิต

สั่งระงับบริษัทส่งเสริม

คปภ. สั่งให้บริษัท ส่งเสริมประกันภัย หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว สำนักงาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ตรวจพบว่า บริษัท ส่งเสริมประกันภัย มีการดำเนินการ ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน โดยไม่มีระบบควบคุมการจำหน่าย จ่ายแจกกรมธรรม์ประกันภัยที่ครบถ้วนรัดกุม ไม่มีระบบการสอบยันกรมธรรม์ประกันภัยที่จำหน่าย และเงินค่าเบี้ยประกันภัยให้ถูกต้องตรงกัน มีการรับประกันภัยโดยไม่บันทึกบัญชี หรือบันทึกบัญชีล่าช้า ประกอบกับไม่มีการตรวจสอบการลงบันทึกบัญชี และสมุดทะเบียนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีการบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์เงินสด ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน ทำให้ไม่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริง ขาดความน่าเชื่อถือ นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 สั่งให้บริษัท ส่งเสริมประกันภัย หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป และช่วงระยะเวลาดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเร่งดำเนินการโดยจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีการควบคุมการจัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยไปสู่สาขาและตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เร่งตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยที่ขายกับจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ รวมถึงการบันทึกบัญชีและสมุดทะเบียนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชน และผู้เอาประกันภัยเป็นอย่างยิ่ง เบื้องต้น จึงสั่งการให้บริษัทฯ แจ้งตัวแทน/นายหน้าประกันภัยของบริษัทฯ ให้ระงับการขายกรมธรรม์ประกันภัย แก่ประชาชนแล้ว สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทฯ อยู่ก่อนคำสั่งหยุดรับประกันภัย เป็นการชั่วคราวนี้ ท่านยังคงได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยทุกประการ ดังนั้น หากประชาชนและผู้เอาประกันภัยรายใด พบเห็นการขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทฯ ดังกล่าวในระยะนี้ ขอให้แจ้งกับสำนักงาน คปภ. ภาคและจังหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูล ได้ที่ สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง โทร 0 2513 5214 , 0 2513 2972 หรือ สายด่วนประกันภัย 1186 หรือ www.oic.or ที่มาบทความ http://www.spser.com/