วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ป้ายจราจรประเภทป้ายเตือน

แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

       1. ป้ายเตือนตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด
       2. ป้ายเตือนที่แสดงด้วยข้อความ และ/หรือสัญลักษณ์
       3. ป้ายเตือนในงานก่อสร้างต่าง ๆ


1.  "ทางโค้งซ้าย" 

 ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

2.  "ทางโค้งขวา" 

ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

3.   "ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย" 
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

4.  "ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา" 
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

5.  "ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มซ้าย" 
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางซ้ายแล้วกลับ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

6.  "ทางโค้งรัศมีแคบเริ่มขวา"  
ความหมาย ทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางขวาแล้วกลับ ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

7.  "ทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย"
ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง
 
8.  "ทางคดเคี้ยวเริ่มขวา"  
ความหมาย ทางข้างหน้าเป็นทางคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

9.   "ทางโทตัดทางเอก"
ความหมาย ทางข้างหน้ามีทางโทตัด ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง

10.  "ทางโทแยกทางเอกทางซ้ายรูปตัววาย"   
ความหมาย  ทางข้างหน้ามีทางโทแยกจากทางเอกไปทางซ้ายเป็นรูปตัววาย ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง 

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำอย่างไรเมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน






ในการขับรถ คุณอาจจะต้องพบกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ ไม่ว่าจะเป็นรถหลุดจากทางวิ่ง ยางแบน หรือ ยางแตก เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เราควรจะรู้วิธีปฏิบัติในการควบคุมรถสำหรับกรณีนี้ไว้เสียหน่อย


- คุมสติให้ดี อย่าตื่นตกใจจนเกินไป ประคองพวงมาลัยเพื่อรักษาให้รถเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม

- อย่าเหยียบเบรกอย่างแรง เพราะอาจทำให้รถหมุน ให้ลดความเร็วด้วยการถอนคันเร่งและลดเกียร์ไปหาเกียร์ต่ำ แล้วค่อยแตะเบรก

- เมื่อสามารถควบคุมรถได้แล้ว ให้พยายามหยุดรถอย่างช้าๆ และจอดในที่ปลอดภัย

- ถ้าพบของตกอยู่บนถนน อย่าวิ่งทับ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังทับ ควรตรวจเช็คใต้ท้องรถ

- ถ้าสัตว์เลี้ยงขวางทาง กดแตรเบาๆ ให้มันหลบ ควรเลี้ยวไปทางด้านหลังของสัตว์ การตัดหน้าจะทำให้สัตว์ตกใจได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ อนุสาร อสท ฉบับเดือนกันยายน 2554

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ทางเท้า' ห้ามขับ-จอดรถ

ทุกวันนี้มีรถใหม่เข้าสู่ ระบบการจราจรในกรุงเทพฯ มากเหลือเกิน จนส่งผลกระทบถึงปัญหารถติด รวมถึงปัญหาไม่มีที่จะจอดรถกันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในเมือง บ่อยครั้งที่จะเห็นมีการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า เพื่อหนีรถติดบนถนนบ้าง ย้อนศรบ้าง ซึ่งล้วนแต่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดไว้ชัดเจน ห้ามขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร (เว้นแต่รถเข็นสำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ) หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ส่วนกรณีที่ชอบขับรถยนต์ขึ้นไปจอดบนทางเท้า ก็ผิดกฎหมายเช่นกัน แม้ทางเท้านั้นจะเป็นหน้าบ้านหรือตึกแถวของตนเอง แต่ก็เป็นทางสาธารณะ ซึ่ง พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดโทษสำหรับผู้ที่จอดรถบนทางเท้า จะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ข้อหานี้ เป็นข้อหาหลักที่รวมอยู่ใน 13 ข้อหา ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ให้เข้มงวดจับกุมโดยไม่มีการออกใบเตือน เพราะเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ถ้าเจอต้องจับปรับทันที. ประกันภัยรถยนต์

ที่มา เดลินิวส์

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

สมาคมประกันวินาศภัยเสนอแก้เกณฑ์การรับประกันภัยพิบัติ ถ้าขายได้ต่ำกว่าเบี้ยที่กำหนด

สมาคมประกันวินาศภัยเสนอแก้เกณฑ์การรับ  ประกันภัย http://spser.com  พิบัติ ถ้าขายได้ต่ำกว่าเบี้ยที่กำหนด ไม่ขอส่งทำประกันต่อเข้ากองทุนฯ

นาย จีรพันธ์ อัศวธนะกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ในวันนี้ทางสมาคมประกันวินาศภัยและคณะอนุกรรมการกองทุนส่งเสริมการประกันภัย พิบัติ จะสรุปข้อเสนอใหม่ในการขายประกันภัยพิบัติ เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ ยในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่กำหนดเบี้ยไว้ 1% ของวงเงินความคุ้มครองทรัพย์สินที่ทำประกันอัคคีภัย และอุตสาหกรรมที่กำหนดเบี้ยไว้ 1.25% ถ้าขายได้ในอัตราเบี้ยที่ต่ำกว่าจะไม่ขอส่งเข้ากองทุนฯในทุกทุนประกันภัย และสามารถที่จะเพิ่มความคุ้มครองเป็น 50% ได้ทุกทุนประกันภัย จากที่กองทุนฯกำหนดไว้ว่าจะขยายได้ต้องมีทุนประกันขั้นต่ำ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

"ถ้าปลดล็อคเรื่องทุนประกันขั้นต่ำ 1,000 ล้านบาทออกไปได้ จะทำให้บริษัทประกันภัยสามารถขายประกันน้ำท่วมปกติในวงเงินทุนประกันเท่า ไหร่ก็ได้ จากปัจจุบันที่กองทุนกำหนดให้เราคุ้มครอง 1 หมื่นบาท แล้วที่เหลือต้องส่งเข้ากองทุนฯ และประกันภัยพิบัติก็เช่นเดียวกัน ในเรื่องของการจำกัดความรับผิดชอบขั้นต่ำ สามารถที่จะขยายเพิ่มตามความสามารถของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง"นายจีรพันธ์ กล่าว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานคณะกรรมการ กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมการกองทุนฯจะมีการประชุมในวันที่ 7 ก.ย.นี้ และ ยินดีที่จะพิจารณาอนุมัติตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ เพราะกองทุนฯจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริม ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อบังคับธุรกิจประกันภัย โดยปัจจุบันอัตราเบี้ยประกันต่ำลงมากเมื่อเทียบกับเบี้ยที่กองทุนฯกำหนด ทำให้ผู้ประกอบการยังไม่เข้ามาทำประกันภัยกับกองทุน

นอกจากนี้ อาจจะมีการพิจารณาปลดล็อคเรื่องที่จะต้องส่งเข้าทำประกันภัยต่อกับกองทุน ขั้นต่ำ 30% โดยให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และพิจารณาถึงการแยกความคุ้มครองขาย จากปัจจุบันที่กองทุนฯกำหนดไว้ต้องขายรวมเป็นแพคเกจ คือ พายุ แผ่นดินไหว และ น้ำท่วม อาจให้เลือกซื้อได้ จะได้ไม่เป็นภาระหากผู้ประกอบการมองว่ามีระบบป้องกันความเสี่ยงได้

นาย ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้นจากการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล จึงต้องการให้ผ่อนคลายเรื่องการจำกัดวงเงินความคุ้มครองขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 30% ของประกันภัยทรัพย์สิน แต่จะขอให้พิจารณาที่อัตราเบี้ยประกันภัยเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แสดงให้เห็นความเชื่อมั่นของทางบริษัทประกันภัยต่อที่มีต่อประเทศไทยด้วย

นาย ชัย โสภณพนิช  ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร  บริษัทกรุงเทพประกันภัย(BKI) เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาเบี้ยประกันภัยพิบัติที่บริษัทขายอยู่ที่ระดับ 0.24%-0.5% บริษัทจึงไม่ส่งประกันภัยต่อไปยังกองทุนฯ เพราะราคาเบี้ยประกันภัยต่ำกว่าของกองทุนที่กำหนดไว้ 1%-1.25% เช่น ทุนประกันภัย 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายเบี้ยประมาณ 12.5 ล้านบาทถือว่าแพง

"ดู แล้วเห็นว่า ปีนี้น้ำไม่น่าท่วมหนัก เพราะลูกค้ามีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมเสร็จถึง 90% และปริมาณฝนตกน้อยกว่าที่คาดหมายไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 40% จากปีที่ผ่านมา แต่ ณ วันนี้น้ำไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก และผู้บริหารจัดการน้ำได้บทเรียนจึงมีการป้องกันน้ำท่วมได้ดีกว่าเดิม"นาย ชัย กล่าว

นายสมพร  สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัททิพยประกันภัย(TIP) กล่าวว่า ถือว่ากองทุนฯได้ทำสำเร็จไปในระดับหนึ่งที่สามารถดึงให้เบี้ยประกันภัย พิบัติลดลงต่ำกว่าที่กองทุนฯกำหนด เพราะบริษัทประกันภัยต่อกลัวจะเสียลูกค้า จึงเข้ามาเสนอราคาเบี้ยประกันภัยที่แข่งขันกับกองทุนฯเพราะมองว่าพื้นที่ อุตสาหกรรม หรือ พื้นที่ไข่แดงทางเศรษฐกิจ มีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมที่ทำให้มั่นใจว่า หากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นจะไม่ท่วมพื้นที่ไข่แดงทางเศรษฐกิจเหมือนปีที่ผ่านมา

"ตอน นี้คนยังซื้อประกันภัยพิบัติเข้ามาไม่มาก เพราะยังไม่ครบสัญญา จะมีเข้ามามากช่วงเดือน 3 เดือนสุดท้าย ซึ่งล่าสุดที่คปภ.แจ้งไปอยู่ที่ 9.29 หมื่นราย วงเงินความคุ้มครอง 9,426 ล้านบาท เบี้ยรวม 65 ล้านบาท แต่คาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะมีผู้ทำประกันเข้ามา 7.2 แสนราย วงเงินความคุ้มครอง 3.29 แสนล้านบาท เบี้ยประกันภัยราว 3,577 ล้านบาท โดยวันที่ 7 ก.ย.นี้ก็จะเสนอชื่อบริษัทประกันภัยต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อ พิจารณา ให้ทำประกันภัยต่อไปยังต่างประเทศได้ตามที่ที่ปรึกษาประกันภัยเสนอ"นายประ เวช กล่าว


ที่มา โพสต์ทูเดย์

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องของ พ.ร.บ.


กว่าสองทศวรรษที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ทำให้ประเทศไทยมีการใช้บังคับสำหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่บังคับให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถทุกคนต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ การประกันภัย พ.ร.บ. ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. นี้ แยกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นความคุ้มครองที่เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” ซึ่งถูกกำหนดตามกฎหมายให้มีความคุ้มครอง สำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยไม่เกิน คนละ 15,000 บาท และค่าปลงศพ กรณีผู้ประสบภัย เสียชีวิต คนละ 35,000 บาท

ค่าเสียหายเบื้องต้นใน ส่วนนี้กฎหมายกำหนดให้บริษัทที่รับประกันภัยต้องชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยที่ เกิดจากรถคันที่ทำประกันภัยไว้ หรือแก่ทายาทของผู้ประสบภัยที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิตภายใน 7 วันนับแต่ได้รับการเรียกร้องโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่าย ถูก ตามหลักของการประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อให้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมีผลในการช่วย บรรเทาผลร้ายจากการเกิดอุบัติเหตุจากรถได้อย่างรวดเร็ว และ ทำให้เกิดความมั่นใจกับทุกส่วน ทุกองค์กร ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

สำหรับ ความคุ้มครองในส่วนที่สอง กำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวนไม่เกินคนละ 50,000 บาท และค่าชดเชยกรณีที่ผู้ประสบภัยรายนั้นต้องพักรักษาตัวในสถานพยาบาลโดยลง ทะเบียนเป็นคนไข้ในอีกวันละ 200.-บาท ไม่เกิน 20 วัน ถ้าหากผู้ประสบภัยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ทายาทจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์คนละ 200,000 บาท

ในการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้ถือว่าค่าเสียหายส่วน แรกเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เมื่อมีการชดใช้ค่าเสียหายส่วนแรกไปแล้ว เมื่อจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ก็จะหักเงินค่าเสียหายส่วนแรกออกไป ก่อน แล้วจึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่เหลือให้กับผู้ประสบภัย หรือทายาทของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี

ที่กล่าวมายืดยาวทั้งหมดนี้ผมมี เจตนาที่จะปูพื้นให้ทุกท่านเข้าใจกับกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับของประเทศไทยโดยสังเขปเท่านั้น เพราะสิ่งที่อยากจะกราบ เรียนท่านผู้อ่านทุกท่านในวันนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นมิติใหม่สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น ด้วยการเปิดใจกว้างของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีผลให้เกิดความ สะดวกรวดเร็วในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นของผู้ประสบภัยเป็นอย่างยิ่ง

นับ ตั้งแต่ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย พ.ศ.2535 ใช้บังคับการจ่ายค่าเสีย หายเบื้องต้น สำหรับรถที่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับไว้ถูกกำหนดให้เป็นหน้า ที่ของบริษัทที่รับประกันภัยที่จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน7 วันนั้น แต่ได้ รับการร้องขอโดยไม่ต้องรอผลการพิสูจน์ความรับผิดแต่อย่างใด ต่อมาได้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถ ยนต์ ทุกบริษัทร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เพื่อให้เป็นบริษัทที่ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรถ ยนต์ภาค บังคับให้แก่ผู้ประสบภัย โดยให้มีการบริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ดังนั้นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับไว้ จึงสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยการจัดการของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

แต่เนื่องจากรถที่วิ่งอยู่บนถนน ทุกคันไม่ได้มีการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ทุกคัน รวมไปถึงรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย เช่น รถราช การ หรือ รถยนต์ทหาร เป็นต้น รถยนต์เหล่านี้เมื่อเกิดอุบัติเหตุมีผู้ประสบภัยไม่ว่า บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จำเป็นที่จะต้องมีผู้รับผิดชอบในเบื้องต้น เพื่อให้สอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ดังนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงกำหนดให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ ประสบภัยจากรถ พร้อมๆ กับที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีผลบังคับ โดยกำหนดให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ ประสบภัย หรือทายาทผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี ผู้ที่ดูแลและทำหน้าที่จ่ายเงินของกองทุน นี้ คือ หน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัยทั่วประเทศ

ดังนั้น การชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จึงแยกกันเป็นสองส่วนโดยกำหนดให้ผู้ประสบภัยจากรถ ที่ทำประกันภัยไว้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัย หรือรับจากบริษัท กลางคุ้ม ครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด แล้วแต่ความสะดวกของผู้ประสบภัย แต่สำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ได้มีประกันภัยจะต้องรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทน ผู้ประสบภัยเท่านั้น แต่นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ได้ปรับปรุงระเบียบการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นในส่วนของค่ารักษาพยาบาล โดยได้มอบหมายให้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สามารถชดใช้ค่ารักษาพยาบาลในส่วนของค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย หรือสถาน พยาบาลที่มีสิทธิ์ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้แทนผู้ประสบภัยได้แล้ว แต่สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิต ทายาทผู้ประสบภัยยังคงต้องไปขอรับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เช่นเดิมนะครับ

ผล จากการปรับปรุงระเบียบนี้ของกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เชื่อว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวก และทำให้เกิดความมั่นใจในระบบการประกันภัยภาคบังคับได้อย่างมากมายนะครับ คงต้องมาดูผลการประเมินกันต่อไปว่าเป็นอย่างไร


ที่มาสยามธรุรกิจ

เรื่องของ พ.ร.บ.

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รู้เงื่อนไข...อุ่นใจเมื่อรถชน

รื่องปวดหัวที่สุดของผู้ใช้รถ คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องมายืนเถียงกับคู่กรณีกลางแดดเปรี้ยง

แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากเจอเรื่องแบบนี้ ดังนั้น การมีประกันภัยรถยนต์เพื่อลดความยุ่งยาก จึงเป็นเหตุผลแรกๆ ของหลายคน และก็ทำให้หลายคนเลือกประกันภัยประเภท 1 เพราะเชื่อว่าจะได้รับการดูแลระดับเฟิร์สต์คลาส

แต่ในสถานการณ์จริง เมื่อประกันมาถึง อาจจะมีความยุ่งยากก็ได้ ถ้าผู้ขับขี่นั้นไม่มีความพร้อมในเรื่องคุณสมบัติ

เรื่องที่ไม่ซับซ้อน แค่ขับรถชนกัน ก็เรียกตัวแทนเคลมประกันมาคุย ก็น่าจะจบ แต่มาลองดูว่า ปัญหานั้นอยู่ที่ตรงไหนได้บ้าง

ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป...ใช่ครับ ก็คนขับรถนั้นต้องมีใบอนุญาตและกรมขนส่งทางบกออกให้เฉพาะคนที่อายุถึงเกณฑ์ 18 ปี แต่ทุกวันนี้ ท่านเคยมองไปรอบข้างยามอยู่หลังพวงมาลัยหรือไม่ เด็กหนุ่มสาวหน้าตาละอ่อน บางคนผมเกรียนแบบนักเรียน ม.ต้น ดูอย่างไรก็ไม่มีทางอายุ 18 ปี แต่พ่อแม่ก็ปล่อยให้ขับรถออกมาห้าง หรือไปเที่ยวทะเลดูคอนเสิร์ตริมหาด ตรงนี้สร้างความยุ่งยากให้ประชาชนที่ใช้ถนนร่วมกันมาก ผิดกฎหมาย ประกันถือว่าโมฆะ ความสูญเสียมากมายที่ตามมา และอาจนำไปสู่การคอร์รัปชันหลายรูปแบบ

เรื่องต่อมาที่ต้องใส่ใจ คือ ในการคำนวณเบี้ยประกันภัยชั้น 1 และ 2 ค่าเบี้ยประกันภัยจะสัมพันธ์กับวงเงินทุนประกันภัยรถของคุณเป็นหลัก เช่น ทุนประกันภัยรถสูง = ค่าเบี้ยแพง ดังนั้น เมื่อพบอัตราเบี้ยที่แตกต่างกันให้สังเกตดูว่าทุนประกันภัยและความคุ้มครอง อื่นๆ ที่สูงกว่านั้นคุ้มค่าตามความต้องการหรือไม่

บริษัทประกันภัย จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้ขับขี่ดื่มเหล้าและเกิดอุบัติเหตุ...โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง และพึงสังวรไว้ให้มากเรื่องนี้

การนำรถที่ถูกชนมาก่อนมาทำประกันภัย โดยไม่เปิดเผย ถือเป็นการหลอกลวง บริษัทประกันภัยมีสิทธิไม่รับประกันภัยรถของคุณ หรือหากตรวจพบในภายหลังให้ถือว่าสัญญาเป็นโมฆียะ หรือไม่สามารถนำมาใช้ได้

ความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ จะคุ้มครองเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

โดยทั่วไป บริษัทประกันภัยจะไม่รับประกันภัยรถที่มีการโหลด ตกแต่ง หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์

บริษัทประกันภัยจะไม่คุ้มครอง ในกรณีนำรถไปใช้ผิดประเภท เช่น นำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลนำไปใช้รับจ้าง

...เมื่อเกิดเหตุคุณควรทำอย่างไร

แจ้งอุบัติเหตุทันทีต่อบริษัทประกันภัยตามหมายเลขโทรศัพท์ที่บริษัทประกันภัยให้ไว้ มักจะให้มาในรูปแบบของสติกเกอร์ติดกระจกหน้ารถ

เมื่อ เจ้าหน้าที่บริษัทดำเนินการสำรวจความเสียหายแล้ว จะให้ใบรับแจ้งเหตุไว้ นำเอกสารดังกล่าวไปให้บริษัทประกันภัยคุมราคาทรัพย์สินที่เสียหายก่อนทำการ ซ่อม หลังจากนั้น นำรถเข้าซ่อมกับอู่ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คปภ.วางกฎเหล็ก


คปภ.ผนึกกำลังแบงก์ชาติ- ก.ล.ต.สังคายนาการทำธุรกรรมร่วมระหว่างสถาบันการเงินตลาดทุนประกันภัยชี้มาตรฐานจรรยาบรรณไร้ความหมายถึงเวลาที่ทุกอย่างต้องชัดเจนล่าสุดเตรียมออกกฎเหล็ก "3 P" ตีกรอบแบงก์แยกธุรกรรมให้ชัดทั้งก่อนขายณจุดขายและหลังการขายรวมทั้งแยกบริการทางการเงินให้ชัดขณะเดียวกันบุคลากรจะต้องได้รับการจดทะเบียนรับรองจากทางการอย่างถูกต้อง
จากการที่มีการนำเสนอปัญหาร้องเรียนกรณีการทำธุรกรรมของธนาคาร ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจประกันภัยมายังหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งหมายถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือ คปภ.ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือก.ล.ต.ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขา ธิการ คปภ. เปิดเผยกับ "ตลาดวิเคราะห์" ว่า ในกรณีปัญหานี้ที่ผ่านมา ทางการไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนในเนื้อหาของการเข้ามาดำเนินธุรกรรมในลักษณะที่เรียกว่า "แบงก์แอสชัวรันส์" เนื่องจากมองว่าธนาคารเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมช่องทางบริการทางการเงินได้เป็นอย่างดี
แต่ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารรวมทั้งตลาดทุนกับธุรกิจประกันภัยนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้การทำประกันภัยประกันชีวิตถูกมองว่ามีความเสี่ยง ทั้งที่ธุรกิจประกันภัยคือการให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนตามความต้องการของประชาชน
นอกจากนี้กรมธรรม์ประกันภัย ก็ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์การรับฝากเงิน ที่สถาบันรับประกันเงินฝากให้ความคุ้มครอง หากเอาธุรกิจประกันชีวิตประกันภัยไปผูกติดอยู่กับหน่วยลงทุนจะทำให้เกิดความเสี่ยงและปัญหาตามมาในภายหลังได้
นายประเวช มองว่าแนวทางการทำธุรกรรมของภาคการเงิน กำลังมีการพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะการทำธุรกรรมในลักษณะ " Profit Sharing" ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการประกันตามปรกติ แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน
"เวลานี้ ที่กำลังทำกันอย่างแพร่หลายก็คือ Unit Link ที่หมายถึง การทำประกันชีวิต ซึ่งส่วนหนึ่งให้ความคุ้มครอง อีกส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกรรม ที่อาศัยมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นตัวกำหนดเท่านั้นไม่ได้มีการลงลึกไปในเนื้อหาให้ชัดเจนว่า อะไรควรอะไรไม่ควร" นายประเวช กล่าว
ดังนั้น หากจะมีการนำเอาผลิตภัณฑ์หลาย ๆ ประเภทมา ผนึกรวมกัน จึงมีความจำเป็นที่ธนาคารจะต้องมีการแบ่งแยกกันให้ชัดเจนทั้งในรูปแบบและเนื้อหาของผลิตภัณฑ์ โดยทางคปภ. ได้มีการกำหนดมาตรการหรือข้อกำหนดเอาไว้ 3 ขั้นตอนหรือที่เรียกว่า "3 P"
ขั้นตอนแรก Pre Sale คือการบริการก่อนการขาย หมายความว่า ธนาคารจะต้องมีการดูแลเรื่องสถานที่ทำการขายให้ชัดเจนว่า ส่วนรับฝากเงินอยู่ตรงไหน ส่วนขายหน่วยลงทุน อยู่ตรงไหน และส่วนของการขายประกันควรจะอยู่ตรงไหน
เมื่อได้มีการแบ่งแยกแล้วก็จะต้องมีป้ายบ่งบอกที่ชัดเจน มีพนักงานที่ได้รับการจดทะเบียนขึ้นทะเบียนกับทางการอย่างถูกต้อง มีเอกสารการขายที่ถูกต้องชัดเจน รวมทั้งเอกสารจะต้องมีความพร้อมชัดเจนให้ลูกค้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ธนาคารจะต้องเตรียมความพร้อม
ขั้นตอนที่สอง Point Of Sale บริการ ณ จุดขาย ทางธนาคารจะต้องมีข้อมูลที่ผู้บริโภคเข้าใจง่าย ยกตัวอย่าง กรณีเรื่องผลตอบแทน IRR ควรจะต้องมีการเปิดเผยอย่างถูกต้องไม่คลุมเครือ
ขึ้นตอนที่สาม Post Sale บริการหลังการขาย ที่จะต้องมีการทำความเข้าใจระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการอย่างชัดเจน
"ในเรื่องโพสเซล หลังการขาย จะมีไล่ขั้นตอนพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ผ่านมาเรายังไม่ได้มีกฎเกณฑ์ออกมา ที่ผ่านมาเราเองมักจะพูดว่าผู้ให้บริการควรจะให้บริการตามมาตรฐานทางวิชาชีพและจรรยาบรรณ แต่ทางปฏิบัติจริง มันถูกตีความไปตามความเข้าใจของผู้ให้บริการ ที่ผ่านมาเรายังไม่ได้ออกกฎเกณฑ์ออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วผู้บริการควรให้บริการด้วยมาตรฐานอาชีพจรรยาบรรณ แต่ปฏิบัติจริง ไม่ได้เป็นอย่างนั้น สิ่งที่เราทำจะต้องสะกดให้ชัดเจนว่ามาตรฐานจรรยาบรรณเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้สมกับการคาดหวังของผู้บริการ นั่นคือสิ่งที่เรากำลังหารือกัน ซึ่งจะต้องมีการประชาพิจารณ์กับทางสมาคมฯ ทั้งหมด เมื่อเข้าใจตรงแล้วจึงออกมาเป็นหลักเกณฑ์" นายประเวช กล่าว
ทางด้านนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของสมาคมฯ ก็คงจะต้องยึดแนวทางที่เป็นมาตรฐานที่ทางการกำหนด ซึ่งหากทางคปภ.ต้องการให้ทางสมาคมฯ ร่วมมือ ตนก็ยินดี และเชื่อว่าหากการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นของธนาคารหรือของประกันชีวิต หากอยู่ในกรอบกติกามาตรฐานเดียวกัน ตนก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเชื่อว่าทุกฝ่ายต้องการให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด และเป็นธรรม
สำหรับในส่วนของสมาคมประกันชีวิตไทย ตนไม่ได้มองว่า จะยืนอยู่ด้านไหนแม้ว่า กิจการที่ตนเองบริหารอยู่ซึ่งหมายถึงบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จะมีธนาคารกสิกรไทย ถือหุ้นใหญ่อยู่ก็ตาม เพราะกฎกติกา ถ้าหากมีความชัดเจน ไม่ต้องตีความตนก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม และก็เชื่อว่าทางธนาคารก็จะต้องเคารพกฎกติกาที่ทางการจะนำมาให้ปฏิบัติเช่นกัน
อย่างไรก็ดี การสร้างความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากจะทำให้การวางแผนพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตที่ตนเองเป็นนายกสมาคม ฯ อยู่ สามารถเดินไปข้างหน้าโดยที่ไม่ต้องมากังวลเรื่องกฎระเบียบที่อาจจะทำให้เกิดความสับสน เพราะในเวลานี้ช่องทางการจำหน่าย ของธุรกิจประกันชีวิต แต่ละช่องทางต่างก็มีการพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะในอนาคตข้างหน้า ยังจะต้องเตรียมพร้อมที่จะรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จำเป็นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านการ "รุก" ทางธุรกิจ และการตั้งรับ กรณีการเข้ามาลงทุนของประเทศ
ต่าง ๆ ที่จะต้องมีการปรับปรุงทางด้านกฎเกณฑ์รวมทั้ง แนวทางในการดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐาน อยู่ในระดับสากล
นายสาระ ล่ำซำ กล่าวย้ำกับ "ตลาดวิเคราะห์" อย่างหนักแน่นว่า ตนจะรักษาความเป็นกลาง ไม่คิดว่าจะมีข้อขัดแย้งใด ๆ ในสมาคมฯ โดยตั้งใจอยากจะมาทำงานในเชิงพัฒนามากกว่าการเข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
ส่วนทางด้านนางสาวศิริภรณ์ พุทธรักษ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ในส่วนของตัวแทน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเข้าไปลดบทบาทของธนาคาร เพียงแต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจด้วยกัน ก็เป็นสิ่งที่ทางสมาคมฯ จะต้องออกมานำเสนอข้อมูล ซึ่งหลังจากนี้ไปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือก.ล.ต. จะมีข้อสรุปว่าอย่างไร
"ตอนนี้เท่าที่ทราบก็จะต้องรอการทำประชาพิจารณ์กันก่อนระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่สมาคมประกันชีวิต สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมตัวแทน สมาคมโบรกเกอร์ รวมทั้งสมาคมธนาคารไทย ก็จะต้องมีการเปิดโอกาสได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเท่าที่ดูแนวทางที่คปภ.นำเสนอมา ก็คิดว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะไม่ได้ถือเป็นการริดรอนการทำธุรกิจของธนาคาร แต่เป็นการวางแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องและชัดเจนขึ้นเท่านั้น" นางสาวศิริภรณ์ กล่าวย้ำอีกครั้ง
ส่วนทางด้านกลุ่มธนาคารพาณิชย์ จากการเปิดเผยของแหล่งข่าวใกล้ชิด กล่าวว่า การกำหนดมาตรการดังกล่าว เป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ เพียงแต่ถ้าหากจะให้มีการแบ่งแยกการทำธุรกรรมอย่างชัดเจน จะทำให้ธนาคารต้องใช้บุคลากรมากขึ้น ซึ่งถ้าถามว่ากระทบไหม ก็เป็นที่ชัดเจนว่ากระทบแน่ เนื่องจากตลอดระเวลาที่ผ่านมา หลาย ๆ คนมองว่าธนาคารเป็นช่องทางที่ดี จึงมีการนำเอาผลิตภัณฑ์มาฝากขาย ครั้นเมื่อทำไปแล้วเกิดขายดี มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นบริการหลังการขาย หรือความผิดพลาดเกิดขึ้น
ดังนั้น จากกฎ 3 p ที่กำลังจะมีการนำมาใช้ในอีกไม่นานนี้ จึงเป็น "โจทย์ใหญ่" ของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารที่ประสบความสำเร็จในด้าน "แบงก์แอสชัวรันส์" ก็จะต้องหาแนวทางหรือปรับแนวทางเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น
ที่มา: นสพ.ตลาดวิเคราะห์