วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

สมาคมประกันวินาศภัยเสนอแก้เกณฑ์การรับประกันภัยพิบัติ ถ้าขายได้ต่ำกว่าเบี้ยที่กำหนด

สมาคมประกันวินาศภัยเสนอแก้เกณฑ์การรับ  ประกันภัย http://spser.com  พิบัติ ถ้าขายได้ต่ำกว่าเบี้ยที่กำหนด ไม่ขอส่งทำประกันต่อเข้ากองทุนฯ

นาย จีรพันธ์ อัศวธนะกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ในวันนี้ทางสมาคมประกันวินาศภัยและคณะอนุกรรมการกองทุนส่งเสริมการประกันภัย พิบัติ จะสรุปข้อเสนอใหม่ในการขายประกันภัยพิบัติ เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ ยในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่กำหนดเบี้ยไว้ 1% ของวงเงินความคุ้มครองทรัพย์สินที่ทำประกันอัคคีภัย และอุตสาหกรรมที่กำหนดเบี้ยไว้ 1.25% ถ้าขายได้ในอัตราเบี้ยที่ต่ำกว่าจะไม่ขอส่งเข้ากองทุนฯในทุกทุนประกันภัย และสามารถที่จะเพิ่มความคุ้มครองเป็น 50% ได้ทุกทุนประกันภัย จากที่กองทุนฯกำหนดไว้ว่าจะขยายได้ต้องมีทุนประกันขั้นต่ำ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

"ถ้าปลดล็อคเรื่องทุนประกันขั้นต่ำ 1,000 ล้านบาทออกไปได้ จะทำให้บริษัทประกันภัยสามารถขายประกันน้ำท่วมปกติในวงเงินทุนประกันเท่า ไหร่ก็ได้ จากปัจจุบันที่กองทุนกำหนดให้เราคุ้มครอง 1 หมื่นบาท แล้วที่เหลือต้องส่งเข้ากองทุนฯ และประกันภัยพิบัติก็เช่นเดียวกัน ในเรื่องของการจำกัดความรับผิดชอบขั้นต่ำ สามารถที่จะขยายเพิ่มตามความสามารถของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง"นายจีรพันธ์ กล่าว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานคณะกรรมการ กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมการกองทุนฯจะมีการประชุมในวันที่ 7 ก.ย.นี้ และ ยินดีที่จะพิจารณาอนุมัติตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ เพราะกองทุนฯจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริม ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อบังคับธุรกิจประกันภัย โดยปัจจุบันอัตราเบี้ยประกันต่ำลงมากเมื่อเทียบกับเบี้ยที่กองทุนฯกำหนด ทำให้ผู้ประกอบการยังไม่เข้ามาทำประกันภัยกับกองทุน

นอกจากนี้ อาจจะมีการพิจารณาปลดล็อคเรื่องที่จะต้องส่งเข้าทำประกันภัยต่อกับกองทุน ขั้นต่ำ 30% โดยให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และพิจารณาถึงการแยกความคุ้มครองขาย จากปัจจุบันที่กองทุนฯกำหนดไว้ต้องขายรวมเป็นแพคเกจ คือ พายุ แผ่นดินไหว และ น้ำท่วม อาจให้เลือกซื้อได้ จะได้ไม่เป็นภาระหากผู้ประกอบการมองว่ามีระบบป้องกันความเสี่ยงได้

นาย ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีความมั่นใจมากขึ้นจากการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล จึงต้องการให้ผ่อนคลายเรื่องการจำกัดวงเงินความคุ้มครองขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 30% ของประกันภัยทรัพย์สิน แต่จะขอให้พิจารณาที่อัตราเบี้ยประกันภัยเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แสดงให้เห็นความเชื่อมั่นของทางบริษัทประกันภัยต่อที่มีต่อประเทศไทยด้วย

นาย ชัย โสภณพนิช  ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร  บริษัทกรุงเทพประกันภัย(BKI) เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคาเบี้ยประกันภัยพิบัติที่บริษัทขายอยู่ที่ระดับ 0.24%-0.5% บริษัทจึงไม่ส่งประกันภัยต่อไปยังกองทุนฯ เพราะราคาเบี้ยประกันภัยต่ำกว่าของกองทุนที่กำหนดไว้ 1%-1.25% เช่น ทุนประกันภัย 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายเบี้ยประมาณ 12.5 ล้านบาทถือว่าแพง

"ดู แล้วเห็นว่า ปีนี้น้ำไม่น่าท่วมหนัก เพราะลูกค้ามีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมเสร็จถึง 90% และปริมาณฝนตกน้อยกว่าที่คาดหมายไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 40% จากปีที่ผ่านมา แต่ ณ วันนี้น้ำไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก และผู้บริหารจัดการน้ำได้บทเรียนจึงมีการป้องกันน้ำท่วมได้ดีกว่าเดิม"นาย ชัย กล่าว

นายสมพร  สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัททิพยประกันภัย(TIP) กล่าวว่า ถือว่ากองทุนฯได้ทำสำเร็จไปในระดับหนึ่งที่สามารถดึงให้เบี้ยประกันภัย พิบัติลดลงต่ำกว่าที่กองทุนฯกำหนด เพราะบริษัทประกันภัยต่อกลัวจะเสียลูกค้า จึงเข้ามาเสนอราคาเบี้ยประกันภัยที่แข่งขันกับกองทุนฯเพราะมองว่าพื้นที่ อุตสาหกรรม หรือ พื้นที่ไข่แดงทางเศรษฐกิจ มีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมที่ทำให้มั่นใจว่า หากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นจะไม่ท่วมพื้นที่ไข่แดงทางเศรษฐกิจเหมือนปีที่ผ่านมา

"ตอน นี้คนยังซื้อประกันภัยพิบัติเข้ามาไม่มาก เพราะยังไม่ครบสัญญา จะมีเข้ามามากช่วงเดือน 3 เดือนสุดท้าย ซึ่งล่าสุดที่คปภ.แจ้งไปอยู่ที่ 9.29 หมื่นราย วงเงินความคุ้มครอง 9,426 ล้านบาท เบี้ยรวม 65 ล้านบาท แต่คาดว่าถึงสิ้นปีนี้จะมีผู้ทำประกันเข้ามา 7.2 แสนราย วงเงินความคุ้มครอง 3.29 แสนล้านบาท เบี้ยประกันภัยราว 3,577 ล้านบาท โดยวันที่ 7 ก.ย.นี้ก็จะเสนอชื่อบริษัทประกันภัยต่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อ พิจารณา ให้ทำประกันภัยต่อไปยังต่างประเทศได้ตามที่ที่ปรึกษาประกันภัยเสนอ"นายประ เวช กล่าว


ที่มา โพสต์ทูเดย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น