วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องของ พ.ร.บ.


กว่าสองทศวรรษที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ ทำให้ประเทศไทยมีการใช้บังคับสำหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่บังคับให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถทุกคนต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ การประกันภัย พ.ร.บ. ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. นี้ แยกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นความคุ้มครองที่เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” ซึ่งถูกกำหนดตามกฎหมายให้มีความคุ้มครอง สำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยไม่เกิน คนละ 15,000 บาท และค่าปลงศพ กรณีผู้ประสบภัย เสียชีวิต คนละ 35,000 บาท

ค่าเสียหายเบื้องต้นใน ส่วนนี้กฎหมายกำหนดให้บริษัทที่รับประกันภัยต้องชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยที่ เกิดจากรถคันที่ทำประกันภัยไว้ หรือแก่ทายาทของผู้ประสบภัยที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิตภายใน 7 วันนับแต่ได้รับการเรียกร้องโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่าย ถูก ตามหลักของการประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อให้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมีผลในการช่วย บรรเทาผลร้ายจากการเกิดอุบัติเหตุจากรถได้อย่างรวดเร็ว และ ทำให้เกิดความมั่นใจกับทุกส่วน ทุกองค์กร ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง

สำหรับ ความคุ้มครองในส่วนที่สอง กำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวนไม่เกินคนละ 50,000 บาท และค่าชดเชยกรณีที่ผู้ประสบภัยรายนั้นต้องพักรักษาตัวในสถานพยาบาลโดยลง ทะเบียนเป็นคนไข้ในอีกวันละ 200.-บาท ไม่เกิน 20 วัน ถ้าหากผู้ประสบภัยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต ทายาทจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์คนละ 200,000 บาท

ในการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้ถือว่าค่าเสียหายส่วน แรกเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เมื่อมีการชดใช้ค่าเสียหายส่วนแรกไปแล้ว เมื่อจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ก็จะหักเงินค่าเสียหายส่วนแรกออกไป ก่อน แล้วจึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่เหลือให้กับผู้ประสบภัย หรือทายาทของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี

ที่กล่าวมายืดยาวทั้งหมดนี้ผมมี เจตนาที่จะปูพื้นให้ทุกท่านเข้าใจกับกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับของประเทศไทยโดยสังเขปเท่านั้น เพราะสิ่งที่อยากจะกราบ เรียนท่านผู้อ่านทุกท่านในวันนี้เป็นเรื่องที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นมิติใหม่สำหรับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น ด้วยการเปิดใจกว้างของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีผลให้เกิดความ สะดวกรวดเร็วในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นของผู้ประสบภัยเป็นอย่างยิ่ง

นับ ตั้งแต่ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย พ.ศ.2535 ใช้บังคับการจ่ายค่าเสีย หายเบื้องต้น สำหรับรถที่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับไว้ถูกกำหนดให้เป็นหน้า ที่ของบริษัทที่รับประกันภัยที่จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน7 วันนั้น แต่ได้ รับการร้องขอโดยไม่ต้องรอผลการพิสูจน์ความรับผิดแต่อย่างใด ต่อมาได้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถ ยนต์ ทุกบริษัทร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เพื่อให้เป็นบริษัทที่ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยรถ ยนต์ภาค บังคับให้แก่ผู้ประสบภัย โดยให้มีการบริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ดังนั้นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับไว้ จึงสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยการจัดการของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

แต่เนื่องจากรถที่วิ่งอยู่บนถนน ทุกคันไม่ได้มีการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ทุกคัน รวมไปถึงรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย เช่น รถราช การ หรือ รถยนต์ทหาร เป็นต้น รถยนต์เหล่านี้เมื่อเกิดอุบัติเหตุมีผู้ประสบภัยไม่ว่า บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จำเป็นที่จะต้องมีผู้รับผิดชอบในเบื้องต้น เพื่อให้สอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ดังนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงกำหนดให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ ประสบภัยจากรถ พร้อมๆ กับที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีผลบังคับ โดยกำหนดให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ ประสบภัย หรือทายาทผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณี ผู้ที่ดูแลและทำหน้าที่จ่ายเงินของกองทุน นี้ คือ หน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัยทั่วประเทศ

ดังนั้น การชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จึงแยกกันเป็นสองส่วนโดยกำหนดให้ผู้ประสบภัยจากรถ ที่ทำประกันภัยไว้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัย หรือรับจากบริษัท กลางคุ้ม ครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด แล้วแต่ความสะดวกของผู้ประสบภัย แต่สำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ได้มีประกันภัยจะต้องรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทน ผู้ประสบภัยเท่านั้น แต่นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ได้ปรับปรุงระเบียบการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นในส่วนของค่ารักษาพยาบาล โดยได้มอบหมายให้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สามารถชดใช้ค่ารักษาพยาบาลในส่วนของค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย หรือสถาน พยาบาลที่มีสิทธิ์ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้แทนผู้ประสบภัยได้แล้ว แต่สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีเสียชีวิต ทายาทผู้ประสบภัยยังคงต้องไปขอรับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เช่นเดิมนะครับ

ผล จากการปรับปรุงระเบียบนี้ของกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เชื่อว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวก และทำให้เกิดความมั่นใจในระบบการประกันภัยภาคบังคับได้อย่างมากมายนะครับ คงต้องมาดูผลการประเมินกันต่อไปว่าเป็นอย่างไร


ที่มาสยามธรุรกิจ

เรื่องของ พ.ร.บ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น